นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ เลขานุการบริษัทและกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BBL เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจธนาคารปีนี้ สินเชื่อมีโอกาสเติบโตราว3%บนสมมติฐานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ต่ำกว่า 3%ต่อปี ส่วนปีหน้าถ้าจีดีพีขยายตัวที่ 3%(บวกลบ)น่าจะเห็นการเติบโตของสินเชื่อประมาณ3-4%
ส่วนกรณีอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงนั้น แนวโน้มต้องรอดูท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท)จะลดดอกเบี้ยอีกหรือไม่ แต่เท่าที่ฟังขณะนี้ธปท.จะลดดอกเบี้ย 1ครั้งและรอดูผลไปก่อน ซึ่งถ้าการดำเนินนโยบายการเงินเป็นไปตามนั้นผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(NIM)จะน้อย เพราะต้นปีคาดว่าธปท.จะลดดอกเบี้ย 2ครั้ง แต่หากธปท.ลดดอกเบี้ยครั้งเดียวผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยหรือNIMก็จะน้อยลง
ต่อข้อถามถึงแนวโน้มการจ่ายอัตราเงินปันผลนั้น ปีนี้กำไรแบงก์ดีกว่าที่ผ่านมา เรื่องการจ่ายเงินปันผลปีที่แล้วเคยจ่ายที่7บาทต่อหุ้น ซึ่งแบงก์กรุงเทพ มีนโยบายจ่ายปันผลแบบเพิ่มแล้วเพิ่มเลย ไม่ลดลง ดังนั้นแนวโน้มการเงินจ่ายปันผลน่าจะรักษาฐานเดิมได้ หรือไม่ต่ำกว่า 7%ต่อหุ้น แต่ความชัดเจนขึ้นอยู่กับการประชุมในเดือนเม.ย.2568ว่าคณะกรรมการของแบงก์จะพิจารณาตัดสินสินใจ"
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพมีหลักการอยู่ตลอดเวลาว่า “เราอยากสำรองไว้เผื่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน โดยไตรมาสสุดท้ายต้องเตรียมเงินให้เพียงพอสำหรับจ่ายเงินปันผล ดังนั้น กันสำรองในช่วงที่เหลือจะดูว่าปีนี้จะจ่ายปันผลเท่าไร คือ ปกติการจ่ายปันผลจะมีกฎเกณฑ์อยู่แล้วประมาณ 30-40%ของผลกำไร
ถ้าจ่ายปันผล 7บาทต่อหุ้นก็ต้องหาให้พอ แต่เนื่องจากกำไรของเราเพิ่ม ผู้ถือหุ้นก็อยากจะดู แต่อย่างน้อยเราก็รับปาก “เราขึ้นปันผลยาก แต่พอขึ้นแล้วเราจะพยายามทำได้ทุกปี เราแทบจะไม่ลดลง ยกเว้นช่วงโควิด เพราะฉะนั้นปีหน้าก็ต้องเริ่มจาก 7บาทต่อหุ้น แต่ SO FAR กำไรปีนี้ดี
สำหรับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาหรือ Virtual Bank นั้น หากดูจากหลายประเทศที่ดำเนินการ “Virtual Bank” มาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งทุกประเทศที่ทำมาแล้วพบว่า โอกาสำเร็จมีบ้างแต่ที่ไม่ทำกำไรมีมาก แต่โอกาสที่จะทำกำไรได้อย่างน้อยต้องมี 3องค์ประกอบ ได้แก่
1. จะต้องมีเทคโนโลยี่ของตนเอง ปกติที่ไม่กำไรเพราะต้องลงทุนจำนวนมากสำหรับระบบ Core Banking ใหม่ที่เป็นเวอร์ชวลแบงก์เป็นจุดเริ่มต้น
2.ต้องมีฐานลูกค้าจำนวนมากที่อยู่ในกลุ่มหรือใน Ecosystem และจะต้องเป็นฐานลูกค้าที่มีข้อมูลอย่างน่าสนใจด้วย คือ มีเพียงจำนวนฐานลูกค้าอย่างเดียวไม่พอ เพราะต้องใช้ข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจปล่อยสินเชื่อ ต้องเป็นลูกค้าประเภทที่มีข้อมูลในการซื้อขาย ประกอบและ
3.ต้องมีความสามารถในการควบคุมสินเชื่อและความสามารถในการบริหารจัดการด้วย เพราะบางทีมีฟินเทคแต่ไม่เคยเป็นนายธนาคารมาก่อน เมื่อปล่อยสินเชื่อเกิดความเสียหาย 30-40%
“ เรามีดูองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อทั้งEcosystemที่ดี มีลูกค้า มี Core Banking และมีพาร์ทเนอร์ (Shopee ,สหพัฒน์,ไปรณีย์ไทย ) เพราะฉะนั้นเครือข่ายของเรามั่นใจว่าไม่แพ้ใคร ส่วนการลงทุนระบลCore Banking หากดูในต่างประเทศหลักประมาณหลายพันล้าน เพราะต้องพัฒนาCore Bankingขึ้นมา
แต่พาร์ทเนอร์ของเรา Shopee มีธนาคาร Virtual Bank 4ประเทศคือ อยู่ที่มาเลเซีย ,สิงคโปร์,ฟิลลิปปินส์,อินโดนีเซีย ซึ่งมี Core banking อยู่แล้วสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องสร้างใหม่ ซึ่งการไม่ต้องสร้างใหม่จะไม่ต้องเสียค่า R&D ไม่มีCostต่างๆ มีแค่ค่าใช้อย่างเดียว
เพราะฉะนั้นเราประหยัดต้นทุนได้เยอะ ที่สำคัญมีธนาคารกรุงเทพเป็นพาร์ทเนอร์ เพราะเรารู้จักตลาดเมืองไทยดี เรามีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมาและรู้จักธนาคารแห่งประเทศไทยดี ถ้าให้คะแนน 3เรื่องคิดว่าธนาคารกรุงเทพน่าจะเป็นเบอร์1”