นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยถึงการดำเนินงานของ สบน. เนื่องในโอกาส สบน.ครบรอบ 20 ปี โดยระบุว่า ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 60.43%ภายใต้มูลค่าจีดีพีที่ 18.5 ล้านล้านบาท ซึ่งยังอยู่ใต้กรอบในการบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังที่ 70% จากตัวเลข ณ สิ้นเดือน ส.ค.2565 ไทยมีหนี้สาธารณะคงค้าง 10.31 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 60.7% ต่อจีดีพี โดยหนี้สาธารณะคงค้างเกือบ 70% เป็นการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพื่อการลงทุน และคาดว่าสิ้นปีงบประมาณ 2565 หนี้สาธารณะจะอยู่ที่ 60.56% ต่อจีดีพี
"ประมาณการหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 ที่ 60.43% นั้น ได้รวมการกู้เงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 3 หมื่นล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่หากกองทุนฯ มีการกู้เงินอีก 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเต็มเพดานที่กฎหมายกู้เงินของกองทุนฯ กำหนดที่ 1.5 แสนล้านบาท ประเมินว่าหนี้สาธารณะของประเทศ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 จะขยับขึ้นไปอยู่ที่ 61.2% ซึ่งก็ยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลัง แต่ก็เชื่อว่ากองทุนฯ จะไม่กู้เงินเต็มเพดาน โดยปัจจุบันกองทุนฯ ก็ยังไม่ได้มีการกู้เงินแต่อย่างใด"
2 ปัจจัยท้าทาย
นางแพตริเซีย ยังกล่าวถึง 2 ปัจจัยสำคัญที่ท้าทายการทำงานของ สบน.หลังจากนี้ คือ
จ่อออกพันธบัตรออมทรัพย์ 1.3 แสนล้าน
สำหรับแผนการออกพันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bond) ปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65 -ก.ย.66) สบน.เตรียมออกจำนวน 1.3 แสนล้านบาท หลังจากประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในปีที่ผ่านมา โดยนักลงทุนให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยภายในเดือน ธ.ค.นี้ สบน. วางแผนจะจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตแรก วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อทดแทนพันธบัตรออมทรัพย์ที่ครบอายุ
"ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราประสบความสำเร็จกับการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านรูปแบบวอลเล็ต สบม. (สะสมบอนด์มั่งคั่ง) อย่างมาก ได้รับการตอบรับดีมาก โดยตอนนี้ได้จำหน่ายผ่านช่องทางดังกล่าวแล้ว 4.02 หมื่นล้านบาท มีผู้ลงทุนกว่า 4.4 หมื่นราย กระจายไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และกระจายไปทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะวัยทำงาน อายุ 25-49 ปี รวมทั้งยังได้มีการเปิดการซื้อขายตลาดรอง (Sceondary Trading) ผ่านวอลเล็ต สบม. ซึ่งช่วยเพิ่มสภาพคล่องในตลาดตราสารให้สามารถเปลี่ยนมือ หรือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายขึ้นด้วย" นางแพตริเซีย กล่าว
สำหรับความต้องการกู้เงินของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2566 อยู่ที่ 2.21 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น การกู้เงินใหม่ วงเงิน 7.74 แสนล้านบาท และการปรับโครงสร้างหนี้ (Roll Over) อีกราว 1.44 ล้านล้านบาท ซึ่งเครื่องมือในการระดมทุน แบ่งเป็น พันธบัตรระยะยาว วงเงิน 1.09 ล้านล้านบาท หรือ 49-50%, บอนด์ สวิชชิ่ง (Bond Switching) วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท หรือ 6%, ตั๋วเงินคลัง (T-Bill) วงเงิน 5.4 แสนล้านบาท หรือ 24%, ตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN) วงเงิน 2.82 แสนล้านบาท หรือ 13%, พันธบัตรออมทรัพย์ วงเงิน 1.3 แสนล้านบาท หรือ 6% และการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ (Foreign Borrowing) วงเงิน 3.35 หมื่นล้านบาท หรือ 2%