การประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ธนาคารแห่งประเทศสไทย (ธปท.) เมื่อในวันที่ 6 ธันวาคม 2565 เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจดังนี้
ระบบการเงินโลกมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความเสี่ยงด้านเสถียรภาพเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า ซึ่งปัจจัยต่างๆที่จะทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในตลาดการเงินที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้
ต้องติดตาม 5 สถานการณ์อย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินโลกที่ปรับสูงขึ้น สถานการณ์ในตลาดการเงินต่างประเทศอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยได้
ดังนั้นที่ประชุมจึงให้ความสำคัญกับการติดตามดูแลความเสี่ยงที่มีนัยต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยในประเด็นหลัก ดังนี้
ที่ผ่านมา ธปท. ได้มีมาตรการดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง อาทิ มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระยะยาว คลินิกแก้หนี้ และมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ซึ่งช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ได้ระดับหนึ่ง
ที่ประชุมเห็นว่า ยังมีความจำเป็นต้องเร่งผลักดันมาตรการแก้หนี้ในลักษณะเฉพาะจุดให้ครอบคลุมและเข้าถึงลูกหนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ต้องติดตามคุณภาพอย่างใกล้ชิดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและ non-bank
ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีหลักเกณฑ์ในการดูแลความเสี่ยงของกองทุนรวมและตลาดตราสารหนี้ อาทิ การกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนมีเครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีประสิทธิภาพ และการกำหนดลักษณะและประเภทของผู้ลงทุนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของตราสารหนี้ที่ลงทุนได้ (investor segmentation)
ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีเกณฑ์คำนวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการขาดอายุกรมธรรม์ประกันชีวิตภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่ายังมีความจำเป็นที่หน่วยงานกำกับดูแลต้องร่วมกันติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเตรียมความพร้อมในการดูแลให้ตลาดการเงินมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินได้ตามปกติแม้ในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤติ
“เศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงนี้ ภาคเอกชนควรให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงจากการระดมทุนระยะสั้นที่กระจุกตัว ความผันผวนของราคาสินทรัพย์ รวมถึงความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสภาพคล่องในการระดมทุนจากต่างประเทศ"
ทั้งนี้ หน่วยงานกำกับดูแลทั้ง ธปท. ก.ล.ต. และ คปภ. จะร่วมกันติดตามและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ในระบบการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยให้ได้ทันการณ์
สำหรับเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ ระดับการก่อหนี้ของภาครัฐบาล ธนาคารพาณิชย์และธุรกิจเอกชน ทั้งจากแหล่งในประเทศและต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศ
ที่ประชุมประเมินว่า ระบบการเงินไทยในปัจจุบันยังมีเสถียรภาพ โดย