นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้เจอกับการกระทบในหลายด้าน โดยปี 63-64 วิกฤตการณ์ Covid-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงักGDP ไทยปี 63 หดตัวร้อยละ 6.1
รวมทั้งในปี 2565 สงคราม รัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จาก 80 ดอลลาห์สหรัฐ/บาร์เรล ในช่วงต้นปี มาแตะที่ราคา 123 ดอลลาห์สหรัฐ/บาร์เรล ทำให้เงินเฟ้อไทยเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ ร้อยละ 7.9 ในเดือนสิงหาคม
แต่เศรษฐกิจไทยยังมีเสถียรภาพ และกำลังฟื้นตัว โดยคาดว่าในครึ่งปีหลังของปี 66 GDP ไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 4.3 มีนักท่องเทียวเดินทางเข้ามา 16 ล้านคน อัตราการว่างงานลดลงอยู่ที่ 2.6 ล้านคน
แม้จะยังคงมีความกังวลในเรื่องของ "หนี้ครัวเรือน" ที่ปรับตัวลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 86.9 รวมทั้งเงินทุนสำรองของไทย ณ เดือน เมษายน 66 ยังอยู่ที่ 252,000 ล้านดอลลาห์สหรัฐ
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยก็ยังเผชิญกับสถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้น จากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 16 ปี
โดยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565-ปัจจุบัน ปัญหาในตลาดคลิปโตครินทร์ซี่และวิกฤติการณ์ทางการเงินที่ทำให้ธนาคารขนาดใหญ่ในต่างประเทศหลายแห่งล้ม ก็ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินไทยแต่ยังอยู่ในวงจำกัด
ขณะที่ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 80 อยู่นั้น ยังไม่เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับในฝั่งของเจ้าหนี้อย่างสถาบันการเงินซึ่งเป็นสัญญาณชัดเจนว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนจะไม่ลุกลามไปเป็นปัญหาของระบบการเงินอย่างแน่นอน
แต่ทั้งนี้ยอมรับว่าหนี้ครัวเรือนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเติบโตได้น้อยกว่าที่ควรเป็น