ฐานเศรษฐกิจ รวบรวม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3, 6,12, 24 และสูงสุด 36 เดือน ล่าสุด ณ เดือนเมษายน 2566 ของธนาคารพาณิชย์ 16 แห่ง โดยเป็นธนาคารพาณิชย์ 13 แห่ง และแบงก์รัฐอีก 3 แห่ง (ออมสิน ,อาคารสงเคราะห์ และธ.ก.ส.) ทยอยปรับขึ้น หลังมติ กนง.( เมื่อ 29 มี.ค.) ปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% สู่ระดับ 1.75% ต่อปี
แบงก์ไหนจ่ายดีสุด อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด รายละเอียดดังนี้
เงินได้ดอกเบี้ยเงินฝากต้องเสียภาษี ?
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ : หากรายได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จากธนาคารทุกบัญชีรวมกันภายใน 1 ปีปฎิทิน (1 มกราคม - 31 ธันวาคม) แล้วมียอดรวมทั้งหมดมากกว่า 20,000 บาท ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยจ่าย) โดยธนาคารจะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของดอกเบี้ยที่ได้ทันที โดยผู้ฝากสามารถยื่นเรื่องยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร แต่หากดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท ธนาคารจะไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย
บัญชีเงินฝากประจำ : การฝากเงินฝากประจำ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% จากยอดดอกเบี้ยที่ได้ เช่นหากได้ดอกเบี้ย 100 บาท จะถูกหักภาษี 15 บาท ได้ดอกเบี้ยสุทธิ 85 บาท อย่างไรก็ดี ผู้ฝากมีสิทธิ์เลือกเอารายได้ดอกเบี้ยจำนวน 100 บาทตรงนี้ มายื่นภาษีเพื่อขอคืนภาษีได้ หากเสียภาษีไม่ถึงฐาน 15% จะมีสิทธิได้คืนภาษี
หรือจะเลือกให้ธนาคารเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แล้วจบไม่ต้องเอามายื่นภาษีก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่าทางเลือกแบบไหนที่จะคุ้มค่ามากที่สุด ทั้งนี้หากประสงค์จะยื่นเพื่อขอคืนภาษี อย่าลืมขอใบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษี