นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า เงินกู้จากพ.ร.ก.กู้เงินโควิด ทั้ง 2 ฉบับ วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาทนั้น มีการกู้จริงประมาณ 1.46 ล้านล้านบาท โดย ณ วันที่ 30 เม.ย.2566 มีการชำระคืนแล้วประมาณ 9.4 หมื่นล้านบาท คงเหลือหนี้คงค้างประมาณ 1.35 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ แบ่งเป็น
นอกจากนี้ ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้จากพ.ร.ก.กู้เงินดังกล่าว 18 ครั้ง รวมวงเงินประมาณ 3.59 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการแปลงจากเงินกู้ (Term Loan) และตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN) เป็นหนี้ระยะยาว อัตราดอกเบี้ยคงที่ ด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล (LB) 5.45 หมื่นล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน (ESGLB) 2.57 แสนล้านบาท และอีกส่วนหนึ่งเป็น PN ระยะสั้น 4.78 หมื่นล้านบาท
“ต้นทุนในการปรับโครงสร้างหนี้เป็นไปตามสภาวะตลาด โดยอัตราผลตอบแทนจากการประมูล ESGLB376A อายุ 14.2 ปี ครั้งล่าสุดอยู่ที่ 2.6352% ต่อปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คงเหลือวงเงินที่ต้องปรับโครงสร้างหนี้อีกจำนวน 5,000 ล้านบาท”