หลายคำเตือนว่าจะซื้อของออนไลน์ก็ต้องศึกษาข้อมูลสินค้าให้ดีก่อนซื้อ ตรวจเช็คร้านค้าว่ามีการจดทะเบียนกับหน่วยงานรัฐหรือเปล่า เครดิตร้านค้าที่จะซื้อเป็นอย่างไร มีความน่าเชื่อถือพอที่จะทำการซื้อสินค้าหรือไม่
อย่างไรก็ดี หลายครั้งหลายคนก็ยังเจอร้านค้าหรือคนขายที่มีเจตนาที่ไม่สุจริต หลอกโอนเงินหรือหลอกให้จ่ายเงินปลายทางแล้วได้สินค้าที่มีตำหนิบ้าง ของปลอมหรือของไม่ตรงปกมาแทน หนักสุดบางร้านหนีหายไม่ส่งของมาให้ก็มี
ทั้งนี้ หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้แล้วไม่สามารถติดต่อร้านค้าไกล่เกลี่ยกันได้ เราจะต้องดำเนินการอย่างไร ต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้างเพื่อนำไปแจ้งความดำเนินคดี โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แนะนำแนวทางการดำเนินการ ได้แก่
หลังจากที่เราเข้าแจ้งความแล้ว ให้เรารอตำรวจดำเนินการและรอการติดต่อกลับ พนักงานสอบสวนจะส่งเลขบัญชีให้ธนาคารตรวจสอบ ว่าเจ้าของบัญชีเป็นใคร ตัวจริงไหม มีการตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางบัญชีต่างๆ จากนั้นจะออกหมายเรียกเจ้าของบัญชีมาสอบปากคำ ถ้ามาแล้วตกลงกันได้ก็จะไกล่เกลี่ยคืนเงินกัน ถ้ามาแล้วตกลงกันไม่ได้ ตำรวจจะส่งสำนวนให้อัยการส่งฟ้องศาล
อย่างไรก็ดี หากเราจะดำเนินการเองก็สามารถทำได้ โดยนำใบแจ้งความไปดำเนินการเองที่ธนาคาร วิธีนี้เป็นการช่วยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกทางหนึ่ง หรือให้เรื่องที่เราแจ้งความไปดำเนินเรื่องเร็วขึ้น คือการนำใบแจ้งความที่เราขอเจ้าหน้าที่ถ่ายเอกสารมา ไปยื่นที่ชื่อธนาคารที่เราโอนเงินไปให้ ซึ่งจะมีลำดับการเดินเรื่องดังนี้
ทั้งนี้ผู้ขายมีความผิดใน "ฉ้อโกง" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ การทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยข้อความที่เป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกและแจ้งให้ทราบ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยจะมีอายุความ ๓ เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด
ดังนั้นหากรู้ตัวว่าถูกโกง ให้รีบแจ้งความภายใน ๓ เดือน และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๔ ที่เกี่ยวกับการนำเข้าซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ หลอกลวง ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย มีโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทด้วย โดยมีอายุความ ๑๐ ปี