นายบัณฑิต อนันตมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ 25 ปี BAM ในฐานะธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ให้ได้ข้อยุติจากการแก้ไขปัญหาหนี้กว่า 160,000 ราย คิดเป็นภาระหนี้เงินต้นกว่า 480,000 ล้านบาท
BAM เปรียบเสมือนแก้มลิงที่ช่วยรองรับหนี้เสียไม่ให้ไหลเข้ามาท่วมระบบสถาบันการเงิน และสามารถจำหน่ายทรัพย์ไปแล้วกว่า 53,000 รายการ คิดเป็นราคาประเมินกว่า 123,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจเกิดความยั่งยืนได้ต่อไป
ทั้งนี้ BAM มีนโยบายการดำเนินธุรกิจ โดยเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ทุกรายเข้ามาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน ด้วยเงื่อนไขที่ยืดหยุ่น ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การปรับลดหนี้ การโอนตีทรัพย์ชำระหนี้ การให้ลูกหนี้สามารถซื้อคืนทรัพย์หลักประกันได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีโครงการต่างๆ ช่วยเหลือลูกหนี้ เช่น
ขณะเดียวกัน BAM ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางในช่วงที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ 1 มิ.ย.-30 พ.ย. 2567 สำหรับลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้และยังมีการผ่อนชำระอยู่
“BAM เปิดโอกาสให้ลูกหนี้ทุกรายเข้ามาเจรจาประนอมหนี้ เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน บนพื้นฐานการพิจารณาถึงความสามารถที่แท้จริง และกำลังการผ่อนชำระของลูกหนี้ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม หากลูกหนี้ได้รับจดหมายเชิญเข้ามาประนอมหนี้กับ BAM โปรดอย่าลังเลที่จะตัดสินใจเข้ามาหา BAM เราจะดูแลลูกหนี้ทุกรายของเราเสมือนเป็นลูกค้าชั้นดีของธนาคารพาณิชย์”
ด้านดร.ธนกร หวังพิพัฒน์วงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BAM กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยี ซึ่งเป็น Mega Trend เข้ามามีบทบาทอย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วน BAM ได้วางแนวทางขององค์กรฯ เพื่อให้ทันต่อธุรกิจในยุคดิจิทัล 4.0 โดยมีเป้าหมายการ Transformation 3 ส่วน ได้แก่
1.Transformation for People มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ BAM ทั้งหมด ได้รับ "ประสบการณ์" ที่ดี เช่น การตั้งเป้าหมายให้ลูกค้าได้รับแผนประนอมหนี้ที่ตรงกับความต้องการและเงื่อนไขของตนเองให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็น
“BAM Choice ยังอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการชำระเงินผ่านทางช่องทางออนไลน์ และจะช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าอีกด้วย ในปัจจุบัน BAM เตรียมนำระบบ AI มาช่วยในการประเมินกำลังความสามารถในการชำระเงินของลูกหนี้ และวิเคราะห์แผนการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสมกับลูกหนี้อีกด้วย”
2.Transformation for Growth มีเป้าหมายเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเพิ่มยอดผลเรียกเก็บและช่วยลดค่าใช้จ่าย
3.Transformation for Efficiency ได้มีการจัดทำระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ เพื่อให้กระบวนการในการติดตามและแก้ไขหนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดหาเครื่องมือทางด้านดิจิทัล ที่ช่วยให้พนักงานสามารถใช้ระบบสารสนเทศระดับองค์กร (Enterprise Information System: EIS) เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
ขณะเดียวกัน ในโอกาสครบรอบ 25 ปี BAM ได้จัดทำซีรีส์ภายใต้ธีม “อิสระ เดอะซีรีส์ : BAM ทางออกสู่อิสระ” 2 เรื่องคือ