กรณีที่มีการนำคลิปที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสและภาระทางการคลังที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินนโยบายกึ่งการคลังในช่วงของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเคยเผยแพร่ในเดือนเมษายน 2565 และได้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว กลับมาเผยแพร่ซ้ำผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ในช่วง 2 – 3 วันที่ผ่านมานั้น
ล่าสุดนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ขอเรียนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายกึ่งการคลัง ดังนี้
1. ภาระทางการคลังที่เกิดจากการดำเนินนโยบายกึ่งการคลังเป็นการบันทึกรายการค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในการดำเนินโครงการนโยบายรัฐเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย และประชาชนผู้มีรายได้น้อย ในกรณีที่มีความจำเป็นฉุกเฉินเร่งด่วน
ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องไม่ได้ขอตั้งงบประมาณรองรับไว้ล่วงหน้า โดยหลังจากที่ได้มีการดำเนินโครงการแล้ว หน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ยื่นคำขอรับจัดสรรงบประมาณโดยตรงกับสำนักงบประมาณต่อไป
2. ทุกรัฐบาลที่ผ่านมามีการดำเนินนโยบายกึ่งการคลังมาโดยตลอด ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมารัฐบาลมีความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรในช่วงที่ราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ รวมถึงการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและลดภาระค่าครองชีพให้กับผู้มีรายได้น้อยในช่วงวิกฤตโควิด-19
“รัฐบาลได้มีการอนุมัติวงเงินโครงการเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 186,217 ล้านบาท ผู้ประกอบการรายย่อย จำนวน 16,764 ล้านบาท และประชาชนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 7,059 ล้านบาท”
3. การดำเนินนโยบายกึ่งการคลังดังกล่าวเข้าข่ายเป็นกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ) อย่างเคร่งครัด โดยจะกระทำได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น และต้องเป็นไปเพื่อ
ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการคลังเน้นย้ำว่า นโยบายกึ่งการคลังเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการคลังที่ทุกรัฐบาลมีการดำเนินการมาโดยตลอด เนื่องจากสามารถช่วยให้รัฐบาลบริหารงานเพื่อให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย และประชาชนผู้มีรายได้น้อย ในยามจำเป็นฉุกเฉินเร่งด่วนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยการคลังอย่างเคร่งครัด โดยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้กับหน่วยงานของรัฐอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้การดำเนินนโยบายกึ่งการคลังเป็นภาระต่อหน่วยงานของรัฐมากจนเกินสมควร ส่งผลให้ยอดคงค้างฯ ในปัจจุบันจึงยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้