KEY
POINTS
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ เดือนมิถุนายน 2567 รวมทั้งสิ้น 8.59 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 60,041 ล้านบาทหรือ 7.5% จาก 7.99 แสนล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน แบ่งเป็น
สำหรับสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันนั้นเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์ โดย
ขณะที่สินเชื่อที่มียอดคงค้าง 3 เดือนขึ้นไปหรือ หนี้เสีย เดือนมิถุนายน 2567 ทั้งสิ้น 2.95 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้น 1,463 ล้านบาทหรือ 5.21% จาก 2.81 หมื่นล้านบาท โดยที่
ทั้งนี้หนี้ที่มีทะเบียนรถเป็นประกันที่ค้างชำระ 3 เดือนขึ้นไปเพิ่มขึ้นทั้งแบงก์และนอนแบงก์ โดยแบงก์เพิ่มขึ้น 592 ล้านบาทจาก 978 ล้านบาทเป็ฯ 1,570 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 60.53% และนอนแบงก์ เพิ่มขึ้น 2,560 ล้านบาทจาก 5,249 ล้านบาทเป็น 7,809 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 48.77%
อย่างไรก็ตาม ธปท.อยู่ระหว่างการแก้ประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ(Responsible Lending: RL) ในส่วนของสินเชื่อรถยนต์ในเรื่องของ "การกู้ร่วม” หลังจากมีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) ร่วมกับสมาคมธุรกิจเช่าซื้อ ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และเจ้าหนี้เช่าซื้อ คาดว่าจะออกประกาศภายในเดือนธันวาคมนี้
นายธีรชาติ จิรจรัสพร กรรมการผู้จัดการ ลีสซิ่งกสิกรไทยบริษัทในเครือธนาคารกสิกรไทยเปิดเผย“ ฐานเศรษฐกิจ” ในทางปฎิบัติการให้สินเชื่อเช่าซื้อนั้น เมื่อสามีภรรยาต้องการซื้อรถยนต์ จะมีผู้เช่าซื้อที่มีชื่อเป็นผู้ครอบครองในทะเบียนรถยนต์คนเดียวเช่น ภรรยาเป็นผู้เช่าซื้อ ส่วนสามีที่มีรายได้หลักมากกว่า สามารถนำรายได้มารวมและเป็นผู้ค้ำได้
แต่ภายใต้เกณฑ์ RL ที่ออกมาเมื่อต้นปี 2567 ทำให้ไม่สามารถรวมรายได้ดังกล่าวได้ ซึ่งธปท.ได้ผ่อนคลายเกณฑ์การรวมรายได้สำหรับคนในครอบครัวหรือคู่สมรส-สามีภรรยาแล้วเมื่อวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่อาจเป็นมาตรการชั่วคราว เพราะธปท.กำลังพิจารณาเรื่องการกู้ร่วม ซึ่งยังเป็นประเด็นที่อยู่ระหว่างหารือกัน
“คณะทำงานสินเชื่อรถยนต์ภายใต้สมาคมธนาคารไทยและสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทยกำลังศึกษาและมีความเห็นสอดคล้องกันว่า “การกู้ร่วม” จะมีผลกระทบหลายด้าน ตั้งแต่กระบวนการด้านสัญญา ด้านการพัฒนาระบบ รวมถึงจะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์และระบบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายแห่ง”นายธีรชาติกล่าว
ยกตัวอย่าง สัญญาที่ต้องกำหนดให้มีผู้เช่าซื้อร่วม แต่หากผู้เช่าซื้อร่วมคนใดคนหนึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือเสียชีวิตจะมีผลให้สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดหรือไม่ หรือกรณีทำสัญญาประกันภัยคุ้มครองสินเชื่อก็จะเป็นภาระกับที่ผู้กู้ร่วมที่น่าจะต้องทำประกันทั้งคู่
ขณะที่การพัฒนาระบบงานจะต้องปรับทั้งระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร การพิจารณา credit scoring รองรับผู้กู้ร่วมทั้ง2คน การบริการหลังการขาย เช่นหากลูกค้าจะขอใช้บริการเปลี่ยนแปลงงานทะเบียนจะต้องยืนยันตัวตนทั้งคู่ก็จะไม่สะดวกกับลูกค้าด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งฯ
ดังนั้นการใช้เกณฑ์ “การกู้ร่วม” จึงควรต้องศึกษาความเป็นไปได้ รวมถึงผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ เพราะจะรองรับกลุ่มลูกค้าเพียงประมาณ 5% เท่านั้น การให้รวมรายได้ผู้ค้ำที่เป็นคู่สมรสหรือบุคคลในครอบครัวเดียวกันเช่น พ่อ-ลูก โดยให้มีการตรวจสอบภาระหนี้ของผู้ค้ำประกัน จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันที่งานสำคัญเร่งด่วนของผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อคือ การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และบริหารจัดการด้านความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดรถยนต์และมูลค่าหลักประกัน
“ในหลักการผ่อนปรนนั้น ให้รวมรายได้ของผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลภายในครอบครัว (ที่สามารถพิสูจน์สายสัมพันธ์ได้) เฉพาะกรณีที่มีการดำเนินการอยู่เป็นวงกว้างในปัจจุบันคือ เกณฑ์ไม่ได้เขียนชัดๆ แต่ในทางปฏิบัติ ส่วนใหญ่ให้พ่อแม่ลูก และสามีภรรยา”นายธีรชาติกล่าว
ส่วนแนวโน้มตลาดรถยนต์ครึ่งปีหลังน่าจะมากกว่า 3.2-3.5 แสนคัน ซึ่งจะทำให้ยอดขายทั้งปีน่าจะเกิน 6 แสนคัน ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อเช่าซื้อ ณ สิ้นปีนี้มีโอกาสหดตัว 5.5% จากปีที่แล้ว โดยส่วนตัว ยังมองปัจจัยบวกต่อความต้องการสินเชื่อเช่าซื้อใหม่ในครึ่งปีหลัง ซึ่งยอดขายปิคอัพ อาจจะกระเตื้องขึ้นอยู่กับการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ
ขณะที่ปัญหาหนี้เสียปัจจุบันเริ่มทรงตัว หากไม่มีปัจจัยเชิงลบที่เกิดขึ้นรุนแรง ทำให้การเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลในครึ่งปีหลังน่าจะทรงตัวได้ เนื่องจากช่วง 12-18 เดือนที่ผ่านมา สถาบันการเงินให้ความระมัดระวังในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อมาอย่างต่อเนื่องทำให้สามารถควบคุมคุณภาพลูกหนี้ได้แล้ว เพราะปกติหนี้เสียมักจะเกิดขึ้นกับลูกค้าที่อยู่ในช่วง 12-24 เดือนแรก
อย่างไรก็ตาม ช่วงเกิดอุทกภัยน้ำท่วม บริษัทได้ออก 3 มาตรการเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้า คือ ลดวงเงินค่างวด 50%เป็นเวลา 6เดือน, พักชำระหนี้เป็นเวลา 3เดือนและขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระค่างวดให้ยาวขึ้น ซึ่งแต่ละแนวทางจะรองรับปัญหาและความสามารถในการผ่อนชำระของลูกค้าที่แตกต่างกันไป
สอดคล้องกับแหล่งข่าวในวงการเช่าซื้อให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า เรื่องการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้นั้น ธปท.ได้ปรับแก้มาตรการ RL โดยยืดหยุ่นเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเช่าซื้อกับสินเชื่อจำนำทะเบียนที่ไฟแนนซ์หรือผู้ให้บริการสามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ โดยรวมรายได้ของผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลภายในครอบครัวได้
เช่น ทายาทโดยชอบธรรม ภรรยาสามีที่อยู่กกินกันไม่ได้จดทะเบียน เฉพาะกรณีที่มีการดำเนินการอยู่เป็นวงกว้างในปัจจุบัน ได้แก่ สินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อ สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่คู่สมรสชาวต่างชาติเป็นผู้ผ่อนชำระหลัก
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการควรดำเนินการอย่างเต็มที่เท่าที่ผู้ให้บริการสามารถทำได้ ในการคำนึงถึงภาระหนี้ของผู้ค้ำประกันร่วมด้วย สำหรับในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงและนโยบายภายในของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง
“มาตรการ RL ที่ออกมาและมีผลในทางปฎิบัติต่อการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งเดิมพ่อกู้ แม่ค้ำประกัน ธปท.ยืดหยุ่นให้นำรายได้ของคนภายในครอบครัวเป็นผู้ค้ำ ซึ่งการยืดหยุ่นและปรับปรุงเกณฑ์ RL ในครั้งนี้ถือว่า เป็นการอนุโลมค่อนข้างมาก เป็นผลดีต่อตลาดโดยรวม แต่ในทางปฎิบัติอย่างเป็นทางการนั้น ธปท.จะออกประกาศอย่างเป็นทางการประมาณเดือนม.ค. 2568”แหล่งข่าวกลาว
หน้า 13 หนังสือพิมพ์ ฐษนเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,025 วันที่ 8 - 11 กันยายน พ.ศ. 2567