หลังเปิดตัวเปิดตัว “ธฤทธิ์ พรหมนาถ” นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยเกือบ 20 ปี ขึ้นเป็น กรรมการผู้จัดการคนใหม่ บริษัท ฟิลลิปประกันชีวิต จำกัด(มหาชน)ไปเมื่อต้นปี
ล่าสุด “ธฤทธิ์ พรหมนาถ” เปิดเผยว่า โจทย์หลักที่ได้รับนโยบายมาจากคณะกรรมการคือ การทรานฟอร์มบริษัท ภายใต้แผน 3 ปีข้างหน้าระหว่างปี 2566-2568 โดยมุ่งเน้นใน 3 ด้าน ได้แก่ เรื่องคนที่จะปรับสู่บริษัทที่มีความคล่องตัว เหมาะกับสภาพแวดล้อมและการแข่งขัน 2.ช่องทางจัดจำหน่าย และ 3.ด้านผลิตภัณฑ์
นายธฤทธิ์กล่าวต่อว่า โจทย์ที่ได้รับคือ จะต้องร่วมทำงานภายใต้ฟิลลิปกรุ๊ป หรือ ONE Phillip ซึ่งครอบคลุมทั้งธุรกิจใน
แผนปีนี้ บริษัทจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภันฑ์จะเปลี่ยนจากผลิตภัณฑ์เดี่ยว (Single Product) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น (Multiple Product) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ไม่ว่าประกันชีวิตควบการลงทุน(Unit Linked) หรือบริการอื่นที่สอดคล้องกับลูกค้า
“เราจะเน้นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อง่าย เข้าถึงง่ายและเข้าใจง่ายสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่ง่าย โดยคาดว่า จะเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในปลายไตรมาส 2 ซึ่งหากสามารถเจรจากับพันธมิตรคู่ค้าใหม่ได้ตามแผน อาจจะเปิดตัวพันธมิตรรายใหม่ทั้งที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคารไตรมาส 2 หรือไตรมาส 3 ผลิตภัณฑ์จากพันธมิตรที่ร่วมมือกับเรา” นายธฤทธิ์กล่าว
ส่วนเป้าหมายการทรานฟอร์มด้านคนนั้น จะเน้นให้พนักงานประจำที่มีอยู่ 200 คนปรับตัวให้สามารถทำงานร่วมกันคนรุ่นใหม่ที่จะดึงเข้ามาทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่มีนโยบายลดคน ขณะเดียวกันจะเพิ่มตัวแทนประกันชีวิตเป็น 3,000 คนจากที่มีอยู่ราว 2,000 คนและมีแผนจะสร้างที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisors:FA) จำนวน 1,000 คน ภายใน 3 ปี โดย FA สามารถเสนอขายผลิตภัณฑ์ได้ครอบคลุมทั้งกองทุน ประกันและเทรดดิ้ง โบรกเกอร์อื่นๆ
ทั้งนี้ปัจจุบันเทรนด์ FA ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโต ซึ่งบริษัทประกันชีวิตมีการปรับไปสู่รูปแบบดังกล่าว ซึ่งบริษัทมีต้นแบบจากสิงคโปร์เป็นหลัก โดยจะแบ่งช่องทางจัดจำหน่ายเป็น 3 ส่วนคือ ตัวแทน 30% แบงก์แอสชัวรันส์ 30% และ FA 30% ส่วนในไทยจะผ่านช่องทางตัวแทน 50% และแบงก์แอสชัวรันส์ 50% ขณะที่ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน สัดส่วนของ FA เพิ่มเป็น 33%
สำหรับประเทศไทยคาดว่า ไม่เกิน 5 ปีสัดส่วน FA จะเพิ่มเป็นหลัก 10% โดยเฉพาะการเปิดรับ FA ใหม่ เนื่องจากฟิลลิปกรุ๊ปจะมีทั้งหมด 16 ประเทศ แต่สำหรับเมืองไทยอาจจะนำแพลตฟอร์มหรือเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้
“เราอยากเป็นอันดับ 1 ด้าน Insure Tech ก่อนภายใน 3 ปีข้างหน้า ส่วนเป้าโดยรวม 5 ปีข้างหน้าอยากเห็นฟิลลิปขึ้นมาอยู่ใน 10 อันดับแรก โดยมีเบี้ยรับรวมเกิน 5,000 ล้านบาท โดยมุ่งไปที่เบี้ยประกันใหม่ ซึ่งปีนี้อาจจะยังไม่ถึง 1,000 ล้านบาท แต่พยายามจะทำให้ใกล้เคียงที่ 600-700 ล้านบาทและอีก 3 ปีข้างหน้า เบี้ยประกันใหม่ต่อปีจะเติบโตแตะ 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากการขยายพันธมิตรธุรกิจและช่องทางการจัดจำหน่ายและเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์”นายธฤทธิ์กล่าว
นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างเสนอผลิตภัณฑ์ ประกันตะกาฟุลกับทางคณะกรรมการชารีอะห์กลุ่มสหกรณ์ 2-3 แห่ง ซึ่งเน้นประกันสินเชื่อเป้าหมายประมาณ 100-200 ล้านบาท ปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายประกันตะกาฟุลในไทยราว 7 ล้านคน แต่ยังมีจำนวนคนที่ยังเข้าไม่ถึงอีกมาก จึงเป็นตลาดที่ให้ความสำคัญ
ส่วนนโยบายการลงทุน ที่ผ่านมา ฟิลลิปลงทุนในกองทุนหรือตราสารต่างประเทศราว 25% ซึ่ีงผลตอบแทนค่อนข้างดี แต่ปีนี้พยายามจะปรับลดสัดส่วนลงทุนต่างประเทศไม่เกิน 20% เพื่อเพิ่มการลงทุนในหุ้นและพันธบัตรระยะยาวของไทยมากขึ้น โดยมีเม็ดเงินลงทุนราว 4,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนหรือ CAR ปรับขึ้นมาจาก 170% เป็น 220%
ทั้งนี้ภายใต้แผน 3 ปี ของ“ฟิลลิปประกันชีวิต” โดยเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีกำไรและมีอายุยาวขึ้นนั้น เพื่อรองรับมาตรฐาน IFRS17 ที่จะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่เกิน 2 ปี โดยจะเน้นอัตราผลตอบแทน อัตรากำไร ซึ่งที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ของฟิลลิปมีอัตราผลกำไรต่ำกว่า 20%
ทิศทางจากปีนี้ไป บริษัทพยายามจะผลักดันตัวชี้วัดอัตราผลกำไรให้เกิน 30-40% ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับบริษัทประกันชีวิตชั้นนำ รวมถึงบริหารจัดการอัตราการลงทุนหรืออัตราค่าบริหารจัดการของบริษัทให้ลดเหลือเพียงตัวเลขหลักเดียวใน 3 ปี จากตอนนี้ที่ยังเป็น 2 หลักและบริษัทอยู่ระหว่างเลือกบริษัทที่ปรึกษาปรับปรุงโครงสร้างผลตอบแทนให้กับตัวแทนเพื่อให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับแข่งขันได้
หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,870 วันที่ 16 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2566