ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์(บล.) เอเซียพลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยที่พุ่งสูงในช่วงปีที่ผ่านมา +6.08% YoY ทำให้ กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ย ไปแล้วกว่า 3 ครั้ง ขณะที่การดำเนินนโยบายทางการเงินของไทยในปีนี้ ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่า การประชุม กนง. ในช่วงไตรมาส1/66 ( ประชุมครั้งแรกของปี : 25 ม.ค. 66) น่าจะเห็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% ตามเดิม และเริ่มขยับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลัง จาก 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้
ส่วนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่มีโอกาสชะลอการเร่งตัวขึ้น หรือ
อัตราดอกเบี้ยเริ่มเข้าสู่ขาลง มีอยู่ 4 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
• กลุ่มเช่าซื้อ : THANI, MTC, TIDLOR, SAWAD, ฯลฯ
• กลุ่มธนาคารขนาดกลาง-เล็ก : KKP, TISCO
• กลุ่มอสังหาฯ : SPALI, LH, AP, QH, ORI , ฯลฯ
• กลุ่มหุ้นปันผลสูง : NER, ADVANC , DTAC, MCS, SAT, ฯลฯ
ส่วนหุ้นได้รับผลกระทบ คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และกลุ่มประกัน
สรุป : การดำเนินนโยบายทางการเงินของไทยมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น หลัง กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 3 ครั้งในปีที่ผ่านมา ขณะที่การดำเนินนโยบายทางการเงินของไทยในช่วงต้นปี 66 ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่า กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% ตามเดิม จาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ M rate ค่อนข้างสูง เงินบาทแข็งค่าอย่าง รวดเร็ว รวมถึงการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วเกินไปอาจลดทอนศักยภาพของเศรษฐกิจไทย