วันนี้ (9 มี.ค. 66) ฝ่ายกฎหมายผู้ประกอบธุรกิจ และฝ่ายนโยบายสินทรัพย์ดิจิทัล และนวัตกรรมทางการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เผยแพร่บทความ "ความท้าทายในการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ฯ" โดยระบุว่า นับเป็นเวลากว่า 5 ปี ตั้งแต่พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล) มีผลใช้บังคับเมื่อ 14 พฤษภาคม 2561
เพื่อให้ พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพัฒนาการของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ก.ล.ต. จึงจัดตั้ง คณะทำงานพิจารณาปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (คณะทำงานฯ) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการคลัง คณะกรรมการกฤษฎีกา ธนาคารแห่งประเทศไทย ก.ล.ต ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
โดยในการประชุมของคณะทำงานฯ ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับหลักการในการปรับปรุงกฎหมาย
หลักการที่สำคัญ 3 ประการ ประกอบด้วย
ทั้งนี้การออกกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน โดยกำกับดูแลด้านการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลและการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ป้องกันการฟอกเงิน รวมไปถึงการตรวจสอบการกระทำอันไม่เป็นธรรมในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล
เรียกได้ว่าเป็นการออกกฎหมายเฉพาะที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการเป็นประเทศแรก ๆ ของโลก โดยมีต้นแบบการกำกับดูแลมาจากกฎหมายหลักทรัพย์
ที่ผ่านมาภายหลังจากที่ พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล มีผลใช้บังคับ โลกของสินทรัพย์ดิจิทัลมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และก้าวกระโดด โดยปัจจุบันสินทรัพย์ดิจิทัลสกุลหนึ่ง ๆ อาจสามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ โดยเป็นทั้งสื่อกลางในการชำระราคา และในขณะเดียวกันก็ให้สิทธิในการแลกสินค้าหรือบริการ มีการประยุกต์ใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบใหม่ ๆ
รวมถึงการนำทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น carbon credit, e-voucher และบัตรคอนเสิร์ต เป็นต้น มาแปลงให้อยู่ในรูปของโทเคน (tokenization) เพื่อการใช้งานในลักษณะอุปโภคบริโภค รวมทั้งมีการออกโทเคนที่เรียกว่า Non-fungible token (NFT) ซึ่งผู้ถือ NFT มีสิทธิเป็นเจ้าของสิ่งที่อยู่เบื้องหลังโทเคนนั้น เช่น ที่ดินในจักรวาลนฤมิตร (Metaverse) ตัวละคร หรือไอเทมในเกม งานศิลปะ รวมไปถึงสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต. จะนำหลักการตามที่คณะทำงานฯ วางกรอบไว้ข้างต้น มาใช้ดำเนินการปรับปรุง พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ตามกรอบหลักการดังกล่าว ซึ่งผลจากการปรับปรุงกฎหมายนั้น ก.ล.ต. คาดหวังว่าจะทำให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพ สามารถคุ้มครองผู้ลงทุนได้อย่างเหมาะสม สอดรับกับพัฒนาการของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลง