กรณีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ขอซื้อหุ้น บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI จากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆถืออยู่ทั้งหมดจำนวน 76,279,602 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.34 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในราคาเสนอซื้อหุ้นที่ราคา 59.00 บาทต่อหุ้น คิดเป็นวงเงินรวม 4,500.496 ล้านบาท
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุ ภาพรวมข้อมูลผู้ถือหุ้น OISHI ณ วันที่ 13 ธ.ค. 2565 มีจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด 2,457 ราย จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) 1,846 ราย คิดเป็น 20.34%
ผู้ถือหุ้น OISHI 10 รายแรก
เมื่อดูจากผู้ถือหุ้น OISHI 10 รายแรก พบว่า มีสัดส่วนการถือหุ้นสูงถึง 364,263,998 หุ้น จากจำนวนหุ้นจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ ทั้งสิ้น 375,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 97.14%
หากไม่รวมบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ที่ถือหุ้นอันดับ 1 ในสัดส่วน 79.66% จะพบว่าผู้ถือหุ้น OISHI อันดับที่ 2-10 จะถือหุ้นรวมกัน 65,543,600 หุ้น หรือ 17.48% ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆถือหุ้นรวมกันแค่ 10,736,002 หุ้น หรือ 2.86% เท่านั้น
การซื้อหุ้น OISHI ของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จะทำให้ผู้ถือหุ้นอันดับ 2-10 ได้รับเงินจากการขายหุ้นคืนรวมกันกว่า 3,867.072 ล้านบาท ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆจะได้รับเงินจากการซื้อหุ้นคืน จำนวน 633.424 ล้านบาท
9 อันดับผู้ถือหุ้น OISHI ที่จะได้รับเงินจากการขายหุ้นให้กับไทยเบฟเวอเรจ มากที่สุด
ไทยเบฟแจ้งเหตุผลและที่มาของการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ ดังนี้
ไทยเบฟเล็งเห็นว่าปัจจุบันปริมาณการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีไม่มากนัก ไทยเบฟจึงเห็นว่าการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มทางเลือกและโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัทสามารถขาย
หุ้นของบริษัทได้
กลุ่มไทยเบฟอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการดำเนินงานและการประกอบธุรกิจของกลุ่มธุรกิจอาหาร และกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ภายในกลุ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และ/หรือเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยจะดำเนินการจัดกลุ่มธุรกิจอาหาร และกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึง การปรับโครงสร้างของกิจการในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งอาจดำเนินการในลักษณะของการซื้อ จำหน่าย หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิต่าง ๆ การควบรวมกิจการ การโอนสิทธิตามสัญญาทางการเงิน การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือแนวทางในการดำเนินธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารงาน การโอนย้ายพนักงาน การกู้ยืม-ให้กู้ยืมเงิน การระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งการปรับโครงสร้างที่กล่าวมานี้อาจมีการทำรายการหรือธุรกรรมระหว่างบริษัทกับไทยเบฟ และ/หรือบริษัทในกลุ่มไทยเบฟได้
ทั้งนี้ ไทยเบฟจะพิจารณาดำเนินการตามแผนการดังกล่าวตามความเหมาะสมในอนาคต เนื่องจากแผนการดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอน จึงอาจมีการเพิ่มเติม และ/หรือ เปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน จะทำให้สามารถเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการกิจการและแผนการปรับโครงสร้างดังกล่าวมากยิ่งขึ้น และ
เนื่องจากบริษัทจะไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกต่อไป การดำเนินการดังกล่าวจะยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการเป็นบริษัทจดทะเบียน
คณะกรรมการอนุมัติให้กำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2566เวลา 10.00 น. ในสถานที่ประชุมที่จะแจ้งให้ทราบต่อไปและในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส โดยกำหนดให้วันที่ 27 มีนาคม 2566 เป็นวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 (Record Date) โดยราคาซื้อขายครั้งหลังสุด 46.50 บาท/หุ้น เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566