นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI กล่าวถึงการจัดทำ "โครงการทบทวนโครงสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมของสำนักงาน ก.ล.ต." โดยระบุว่า การจัดทำโครงการนี้ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ ทบทวน โครงสร้างค่าธรรมเนียม และรายได้ ของทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และเป็นแนวทางนำเสนอต่อ ก.ล.ต. เพื่อนำไปสู่การพิจารณาปรับใช้
สำหรับผลการประเมินเบื้องต้นได้ศึกษาข้อมูลของหน่วยงานที่กำกับดูแลรายอื่นๆ ในหลายประเทศทั้ง สิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐ ฮ่องกง และมาเลเซีย เพื่อนำมาเปรียบเทียบในการพิจารณาปรับใช้
เบื้องต้นการใช้หลักเกณฑ์การจัดเก็บรายได้ของ ก.ล.ต. จะต้องอยู่บนหลักการในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม
หลักการที่เหมาะสมประกอบด้วย
ทั้งนี้ทาง ก.ล.ต. ยังมีแนวโน้มรายได้สูงกว่ารายจ่าย 4-12% จึงเสนอให้ "คงอัตราค่าธรรมเนียม" ในภาพรวมเอาไว้เท่าเดิม แม้ว่าอัตรากำไรจะสูงกว่า best practices เล็กน้อย (4-12% vs 6-9%)
แต่ความเสี่ยงของ ก.ล.ต. ทางด้านรายได้ยังคงมีสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรายได้เงิน อุดหนุนที่มีความเสี่ยงจากนโยบายภาครัฐ เช่น ภาษีทรัพย์สิน (คนรวยและที่ดิน) การต่อสู้กับธุรกิจผูกขาด และภาษี capital gain tax ทำให้การลดค่าธรรมเนียม ในภาพรวมยังคงเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรเร่งกระทำ
แต่ในกรณีเลวร้ายที่รายได้ของ ก.ล.ต. มีน้อยกว่าต้นทุนการกำกับดูแล แต่ยังสามารถเพิ่มค่าธรรมเนียมที่เป็นตัวเงิน (nominal value) ได้ประมาณร้อยละ 10-15 ในกรอบ 3 ปีข้างหน้าเพื่อหารายได้เพิ่ม
อย่างไรก็ตามการจัดทำโครงการทบทวนโครงสร้างรายได้ค่าธรรมเนียม ของสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นนโยบายของ "นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล" อดีต เลขาธิการ ก.ล.ต. ที่ต้องการให้จัดทำโดย TDRI เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ในการตรวจสอบต่อการปรับโครงสร้าง
นอกจากนี้ทาง ก.ล.ต. ควรพิจารณาแยกกิจกรรมเพิ่มเติมให้เกิดการแข่งขันในกิจกรรมย่อยๆ มากยิ่งขึ้น (จากต้นแบบสหรัฐ สิงค์โปร์ ฮ่องกง และมาเลเซีย) เพื่อสนับสนุนการแข่งขัน และมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ
พร้อมประยุกต์ใช้กับกิจกรรมใหม่ๆ ที่ต้องกำกับดูแลมากขึ้น เช่น Influencer, Referrer, แพลตฟอร์มเทียบข้อมูลและ Al Trading รวมทั้งกิจกรรมที่คล้ายคลึงกันควรที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่ากัน
กลยุทธ์ในการปรับค่าธรรมเนียม
1.ปรับเมื่อ ก.ล.ต. มีรายได้ไม่เพียงพอกับต้นทุนการกำกับดูแล (ไม่ใช่ในรอบ 3 ปีนี้)
2.ทางเลือกในการปรับ
การประเมินสถานการณ์และความเหมาะสมของค่าธรรมเนียม โดยใช้หลักเกณฑ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์
ด้านนางสาวภาวลิน ลิมธงชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด "Liberator" กล่าวว่า ค่าธรรมเนียมที่ทาง บล.ลิเบอเรเตอร์ จ่ายไปเทียบกับมาร์จิ้น ถือว่าสูงอยู่แล้ว แต่ก็ได้ชำระค่าธรรมเนียมรายปีไปแล้ว ซึ่งเราได้คิดเป็นต้นทุนตั้งแต่เริ่มธุรกิจอยู่แล้ว
ทั้งนี้มองว่าค่าธรรมเนียมรายปีที่มีการจัดเก็บนั้น ไม่สูงเท่าค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่ต้องจ่าย
สำหรับกรณีที่ทาง TDRI เสนอแนะให้ ก.ล.ต. เพิ่มรายได้จากการควบคุม Influencer เพราะตอนนี้ บล.ลิเบอเรเตอร์ สนใจเรื่องเกี่ยวกับ Financial Literacy แล้วรู้สึกว่าทาง ก.ล.ต.มาควบคุม บล.ในมุมนักวิเคราะห์ หรือคนที่เราพาร์ทเนอร์
แต่ทาง Influencer ที่อยู่ในตลาด หรือในไลน์กรุ๊ป น่ากลัวที่สุด ถ้าควบคุมได้น่าจะได้รายได้จากค่าปรับเชิงลงโทษ
(อนึ่งรายได้จาก "ค่าปรับในการทำความผิดของผู้ประกอบธุรกิจ" ทาง ก.ล.ต. จะนำส่งกระทรวงการคลัง ตกเป็นรายได้ของแผ่นดิน)
ขณะที่ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า เป็นเรื่องที่ดีที่มีการจัดทำโครงการนี่ถือเป็นครั้งแรกที่ทาง ตลท. มีโอกาสเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมพัฒนาการมีฐานะการเงินที่เข้มแข็ง บนความเหมาะสมในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อให้ภาคอุตสหกรรมแข่งขันได้
ถือว่าทาง TDRI ทำผลการศึกษาได้ออกมาอย่างเหมาะสมทั้งในฝั่งผู้จัดเก็บ และผู้จ่ายค่าธรรมเนียม โดยได้ให้ความเห็นไปในหลายๆเรื่อง ที่ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนสรุปอีกครั้ง บนการจัดเก็บที่จะต้องไม่กระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ