นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ กรรมการ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน ) หรือ STARK เปิดเผยว่า บริษัทฯได้แจ้งข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามสิ่งที่อ้างถึง1 และ สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ขอให้บริษัทฯ ให้นำส่งคำชี้แจงและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของสำนักงาน ก.ล.ต. ตามสิ่งที่อ้างถึง 2 บริษัทจึงขอเรียนชี้แจงในแต่ละประเด็น ดังต่อไปนี้
1.เงื่อนไขหรือข้อตกลงในสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างบริษัทท่านและผู้ขายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นและธุรกรรมการซื้อขายหุ้นข้างต้น
ภายใต้สัญญาซื้อขายที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ Agreements Regarding the Sale and Purchase of the LEONI Business Group Automotive Cable Solutions ลงวันที่ 22/23 พฤษภาคม 2565 ("สัญญาซื้อขายฯ") ซึ่งบริษัทฯ ในฐานะผู้ซื้อ ได้เข้าทำกับ LEONI AG และ LEONI Bordnetz-Systeme GmbH ในฐานะกลุ่มผู้ขายนั้นมีบทบัญญัติที่ระบุไว้ว่าในช่วงระยะเวลาก่อนที่การซื้อขายจะเสร็จสมบูรณ์ (Closing) นั้น ผู้ซื้อมีสิทธิทำหนังสือแจ้งต่อกลุ่มผู้ขายเพื่อใช้สิทธิเพิกถอน (withdraw) สัญญาซื้อขายฯ ได้ หากเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งตามได้ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายฯ
ในกรณีนี้ เหตุการณ์ที่สามารถใช้เป็นเหตุในการใช้สิทธิเพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ ได้แก่ ในกรณีที่มีการจู่โจมทางทหารใดๆ ต่อประเทศอธิปไตยใดๆ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันลงนามสัญญาซื้อขายฯ (Signing Date) และวันที่คาดการณ์ว่า การซื้อขายจะเสร็จสมบูรณ์ (Scheduled Closing Date) และการจู่โจมทางทหารดังกล่าวส่งผลให้
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงใน (ก) และ (ข) ข้างต้นนั้น ให้เปรียบเทียบกับสถานการณ์ ณ วันที่ลงนามสัญญาซื้อขายฯ
2. เหตุการณ์หรือปัจจัยที่บริษัทท่านพิจารณแล้วเห็นว่าเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบ ในทางลบอย่างมีนัยสำคัญ และสามารถใช้สิทธิเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นและธุรกรรมการซื้อขายหุ้นที่กล่าวข้างต้นได้
ภายหลังจากวันที่ลงนามในสัญญาซื้อขายฯ สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ยังคงดำเนินต่อไปคณะกรรมการบริษัทในขณะนั้นเชื่อว่า การจู่โจมทางทหารอย่างต่อเนื่องในประเทศยูเครน ได้ส่งผลให้
กล่าวโดยสรุปคือ การจู่โจมทางทหารในประเทศยูเครน ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในหลายประเทศปรับตัวลดลง ต้นทุนค่าจ้างและต้นทุนด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น ตลอดจนเกิดการชะงักหรือสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) เป็นต้น โดยในการเข้าทำสัญญาซื้อขายฯ ตลอดจนธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษาทางกฎหมาย และที่ปรึกษาด้านการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของกิจการเพื่อให้คำแนะที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด
3.มูลค่าเรียกร้องสำหรับค่าซื้อขายหุ้นที่ผู้เรียกร้องกำหนด ( 598 ล้านยุโร ) สูงกว่ามูลค่าซื้อขายหุ้นที่บริษัทท่านเคยเปิดเผยไว้ที่มูลค่าไม่เกิน 560 ล้านยูโร
กลุ่มผู้ขายฯ กล่าวอ้างในคำร้องขอเพื่อเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (Request For Arbitration) ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศเยอรมนีว่า บริษัทฯ (ในฐานะผู้ซื้อภายใต้สัญญซื้อขายฯ) มีหน้าที่ต้องชำระเงินที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายฯ คิดเป็นจำนวนเงินเบื้องต้นประมาณ EUR 598,000,000 โดยกลุ่มผู้ขายฯ กล่าวอ้างว่าได้คำนวณจำนวนเงินเบื้องต้นดังกล่าวจากรายการดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่าจำนวนเงินดังกล่าวเป็นจำนวนเงินเบื้องต้นที่กลุ่มผู้ขายกล่าวอ้างในคำร้องขอเพื่อเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น และบริษัทฯ ยังมีสิทธิโต้แย้งได้ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
4. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัทท่านจากข้อพิพาทดังกล่าว
เมื่อบริษัทฯ ได้ทราบถึงเรื่องการอนุญาโตตุลาการ คณะกรรมการและผู้บริหารก็ได้ตรวจสอบสถานการณ์ รวมทั้งได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมายซึ่งเป็นที่ปรึกษาในธุรกรรมตามสัญญาซื้อขายฯ นี้มาตั้งแต่ต้นนับแต่ผู้บริหารชุดเดิม เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือบริษัทฯ ในการดำเนินคดีอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการยังไม่เป็นที่สิ้นสุด และบริษัทฯ กำลังอยู่ในระหว่างจัดทำคำให้การของบริษัทฯ โดยคาดว่ากระบวนการทางกฎหมายในเรื่องนี้น่าจะมีความยืดเยื้อพอสมควร
ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบต่อบริษัทฯได้ดังนี้
ระยะที่ 1: ระยะเตรียมตัวชี้แจงและสู้คดี
โดยบริษัทฯ ได้แต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายเพื่อเป็นตัวแทนบริษัท ซึ่งจะประกอบไปด้วยทนายที่ปรึกษากฎหมายไทย ทนายที่ปรึกษากฎหมายเยอรมัน และผู้ชำนาญการเศรษฐกิจเยอรมัน เพื่อต่อสู้ในประเด็นเหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
ระยะที่ 2: อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด
ถ้าอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้บริษัทฯไม่ต้องเข้าทำรายการดังกล่าว บริษัทฯ จะยังคงกระแสเงินสดในบริษัทฯ แต่ถ้าหากอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้บริษัทฯเข้าทำรายการ โดยให้มีการชดใช้ค่าเสียหายและรับโอนหุ้นกิจการดังกล่าว บริษัทฯจะพิจารณาถึงการดำเนินการที่หมาะสมโดยคำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และผลประกอบการของบริษัทฯ ต่อไป
5. แผนการดำเนินการของบริษัทท่านที่เกี่ยวข้องกับการคำคัดค้านต่อสถาบัน อนุญาโตตุลาการแห่งประเทศเยอรมนี
บริษัทฯ อยู่ระหว่างการจัดทำคำให้การเพื่อโต้ตอบคำร้องขอเพื่อเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (Answer to the Request for Arbitration) ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ยื่นขอขยายระยะเวลาการยื่นคำให้การดังกล่าวต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศเยอรมนีจากเดิมภายในวันที่ 19 มิถุนายน 2566 มาเป็นภายในวันที่ 19 กันยายน 2566 โดยสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศเยอรมนีได้อนุมัติการขยายระยะเวลาดังกล่าวในเบื้องต้นแล้ว
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งลงวันที่ 15 มิถุนายน 2566 จากสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศเยอรมนีโดยมีเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญว่าทางกลุ่มผู้ขายได้แจ้งขอชะลอการแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ (arbitral tribunal) ออกไปเป็นวันที่ 26 มิถุนายน 2566 และทางสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศเยอรมนีจะไม่แต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการก่อนวันดังกล่าว
6.โดยที่บริษัทท่านเปิดเผยข้อมูลว่า ผู้เรียกร้องข้างต้นได้ยื่นเสนอข้อพิพาทดังกล่าว ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 เหตุใดบริษัทท่านจึงไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อพิพาทดังกล่าวผ่านระบบ Elcid เพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบโดยทันที
เนื่องจากหนังสือของอนุญาโตตุลาการได้มาถึงบริษัทฯ ภายหลังจากผู้เรียกร้องได้ยื่นคำร้องเป็นระยะเวลานานพอควร กล่าวคือ บริษัทฯ ได้รับแจ้งจากสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศเยอรมนีถึงข้อพิพาทดังกล่าวในวันที่ 3 เมษายน 2566 ตลอดจนในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเปลี่ยนถ่ายคณะกรรมการและผู้บริหารชุดเก่ามาเป็นชุดใหม่ ทางคณะกรรมการและผู้บริหารชุดปัจจุบันจึงต้องใช้ระยะเวลาในการรวมรวบข้อมูล ทำความเข้าใจ และศึกษาข้อพิพาทดังกล่าวเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมดและวางแผนรับมือในเรื่องนี้ อีกทั้งข้อพิพาทดังกล่าวมีความสลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับกฎหมายและขั้นตอนกระบนการทางกฎหมายในต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้นบริษัทฯ จึงได้เสนอแนวทางให้คณะกรรมกรของบริษัทพิจารณาแผนการดำเนินการในเรื่องนี้ พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบโดยเร็ว