KEY
POINTS
บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX (“บริษัทฯ”) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( 6 ก.พ.67) ว่า ได้รับแบบประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการของบริษัทฯ (แบบ 247-3) จากบริษัท เอสเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ( บริษัทย่อยทางอ้อมของ S.F. Holding Co. บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น ) ในการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ จำนวนทั้งสิ้น 1,275,202,145 หุ้น (คิดเป็นร้อยละ 73.18 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ)
S.F. Holding Co. ทุ่มงบกว่า 9,584 ล้าน ถือ KEX 100%
ในการครอบงำกิจการครั้งนี้ บริษัท เอสเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้ดำเนินการซื้อหุ้นจากผู้ขาย 2 รายคือ
โดยหลังการซื้อขายนี้ บริษัท เอสเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัทย่อยทางอ้อมของ S.F. Holding Co.) จะกลายเป็นผู้ถือหุ้น 100% ของ KEX และมีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ทำให้บริษัทขนส่งรายใหญ่อันดับที่ 2 ของจีนรายนี้ เข้ามาเป็นเจ้าของและผู้บริหาร Kerry Express อย่างเต็มตัว หลังจากเข้ามาถือหุ้นโดยอ้อมตั้งแต่เมื่อปี 2564
S.F. Holding Co. เป็นบริษัทแม่ของ SF Express มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน และเป็นพาร์ทเนอร์ขนส่งให้กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่รูจักกันดีมีทั้ง Alibaba และ JD และยังเป็นเจ้าของกิจการของ DHL ในประเทศจีน
"ขายหุ้น KEX" หนุนงบการเงินกลุ่มบีทีเอส
โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ "KEX" ข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.พ.2566 ประกอบด้วย 3 บริษัทหลัก คือ
อย่างไรก็ดีจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของ KEX ครั้งใหญ่ที่ผ่านมา โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ "KLN Logistic Network Limited " ซึ่งเป็นบจ.ในฮ่องกง ได้แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ในเรื่องการ"จ่ายปันผลพิเศษแบบมีเงื่อนไข" โดยการจ่ายปันผลเป็นหุ้น KEX จำนวน 907.2 ล้านบาท คิดเป็น 52% ของหุ้น KEX ทั้งหมด ส่งผลให้ภายหลังการทำธุรกรรม KLN จะไม่มีหุ้นใน KEX อีกต่อไป โดยปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่ของ KLN คือ " SF holding " ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ KEX ในสัดส่วนราว 26%
ในขณะที่บริษัท วี จี ไอ จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือหุ้น KEX จำนวน 269,230,900 หุ้น สัดส่วน 15.45% และ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น KEX จำนวน 88,100,000 หุ้น สัดส่วน 5.06% และหากทั้ง 2 บริษัท ฯ ขายหุ้น KEX ในครั้งนี้ทั้งหมด กลุ่มบีทีเอสของเจ้าสัวคีรี กาญจนพาสน์ จะได้รับเงินรวมกว่า 1,965 ล้านบาท ที่สำคัญเป็นผลดีต่องบการเงินทั้ง 2 บริษัทไม่ต้องบันทึกผลขาดทุนจากการตั้งสำรองการด้อยค่าเงินลงทุนในหุ้น KEX
งบการเงิน KEX ก่อนถ่ายสู่มือ S.F. Holding
ผลประกอบการ 9 เดือนปี 2566 "เคอรี่ เอ็กซ์เพรส : KEX " ขาดทุนหนัก 2,725 ล้านบาท โดยขาดทุนเพิ่มจากงวดเดียวของปีก่อน (YoY) ที่ขาดทุนสุทธิ 1,898 ล้านบาท และงบปี 2565 ทั้งปีขาดทุนถึง 2,829 ล้านบาท โดยงบ 9 เดือนปี 2566 ขาดทุนเป็นผลจากรายได้จากการขายและให้บริการอยู่ที่ 8,950 ล้านบาท ( ลดลง 30.7% จากงวดเดียวกันของปี 2565 ) ขณะที่มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายสูงถึง 12,379 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 8,594 ล้านบาท หนี้สินรวม 4,819 ล้านบาท โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้น 3,782 ล้านบาท
"ราคาหุ้น KEX" 3 ปี ดิ่งจากไอพีโอ 5 เท่าตัว
ท่ามกลางราคาหุ้นผันผวนตามผลประกอบการ และภาวะตลาด จากสิ้นปี 2564 ราคาปิดอยู่ที่ 30.25 บาท, ปี 2565 ปิดที่ 18.40 บาท และ ปี 2566 ราคาปิดที่ 4.94 บาท ระหว่างทางทำราคาต่ำสุดที่ 3.86 บาท ล่าสุด ( ณ 6 ก.พ.67) ราคาปิดที่ 5.60 บาท
หุ้น KEX เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ เมื่อ 24 ธันวาคม 2563 ด้วยการเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 300 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 28.00 บาทต่อหุ้น โดยในช่วงเวลา 3 ปีกว่า ราคาหุ้น KEX ร่วงมากกว่า 5 เท่าตัว
บริษัทหลักทรัพย์กรุงศรี วิเคราะห์ KEX โดยปรับประมาณการปี 2566 และปี 2567 โดยคาดว่าจะขาดทุนหนักขึ้น จากผลขาดทุนงวด 9 เดือน/ ปี 2566 อยู่ที่ 2,725 ล้านบาท จากสภาวะการแข่งขั้นในตลาดยังเข้มข้น นอกจากนี้ เราเริ่มเห็นแนวโน้มที่ e-commerce platform หันมาใช้บริการจัดส่งสินค้าแบบ in-house ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านลบกับ KEX
โดยได้ปรับลดประมาณการปี 2566 เป็นขาดทุนสุทธิ 3,689 ล้านบาท จากเดิมที่ 3,000 ล้านบาท และปรับประมาณการปี 2567 เป็นขาดทุนสุทธิ 3,411 ล้านบาท จากเดิม 2,800 ล้านบาท เพื่อสะท้อนถึงปริมาณการจัดส่งพัสดุที่มีแนวโน้มลดลงเพราะเสียลูกค้า e-commerce บางรายไป
คงคำแนะนำขาย และปรับลดราคาเป้าหมายลงเหลือ 4.80 บาท