หลังจากวานนี้ ( 19 ก.พ.67 ) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2566 เติบโตเฉลี่ย 1.9% ใกล้เคียงกับตัวเลขกระทรวงการคลังที่ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ที่คาดไว้ 1.8% แต่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.0-2.2%
ขณะที่เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2566 ขยายตัวต่ำเพียง 1.7% พร้อมกันนี้ สภาพัฒน์ หรือ สศช. ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2567 เหลือโต 2.2-3.2% จากเดิมคาด 2.7-3.7%
นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทย(จีดีพี)ปี 66 เติบโตที่ 1.9% แม้จะต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แต่ตลาดได้ตอบรับคาดการณ์ของกระทรวงคลังที่เปิดเผยตัวเลขไปก่อนหน้านี้แล้ว จึงไม่ได้กดดันหุ้นไทยมากนัก และจีดีพีที่หายไปส่วนใหญ่มาจากการใช้จ่ายของภาครัฐ แต่ในภาคการบริการ การบริโภคและการท่องเที่ยวยังไปได้ค่อนข้างดี
"ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า ธปท.อาจต้องทบทวนปรับลดดอกเบี้ยลง แต่ถามว่าจะปรับลดเร็วขึ้นหรือไม่ เชื่อว่าธปท.คงต้องมีการชั่งน้ำหนัก ในเรื่องส่วนต่างดอกเบี้ยในและต่างประเทศ เพราะหากส่วนต่างยิ่งห่างก็จะส่งผลต่อเงินทุนไหลออก สร้างความผันผวนต่อค่าเงินบาทให้อ่อนมากขึ้น ดังนั้นแทนที่จะลดดอกเบี้ย ธปท.อาจใช้มาตรการการเงินอื่นเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบ อาทิ การผ่อนคลายโดยลดวงเงินสำรองแบงก์ เป็นต้น "
กลยุทธ์การลงทุนปีนี้ แนะลงทุนในกลุ่มที่ยังมีโมเมนตัมดี อาทิภาคบริการที่ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาททั้งทางตรงและทางอ้อม ในกลุ่มส่งออก ธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจการแพทย์ โดยเพิ่มน้ำหนัก