บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 มีกำไรสุทธิ 8,451.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และเพิ่มขึ้น 21% จากไตรมาสก่อน จากการเพิ่มขึ้นของกำไรมาจากการดำเนินงาน แม้จะมีผลกระทบจากต้นทุนการเงินและขาดทุนจากอัตราและเปลี่ยน ขณะที่ EBITDA อยู่ที่ 27,769 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และเพิ่มขึ้น 16% จากไตรมาสก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายได้การให้บริการหลักและผลกระทบเชิงบวกจากการรวมกับ TTTBB
ภาพรวมโดยสรุป
รายได้ขยายตัวจากการเติบโตในธุรกิจหลักและการเข้าซื้อกิจการ TTTBB
ในไตรมาส 1/2567 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคไทยปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐและจากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ความท้าทายเชิงโครงสร้างและความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยสรุปเอไอเอสมีรายได้จากการให้บริการหลัก ที่ 39,437 ล้านบาท เติบโต 18% เมื่อเทียบกับปีก่อน และ 6.4% จากไตรมาสก่อน จากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกบริการหลัก โดยเฉพาะบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ดความเร็วสูงที่มุ่งเน้นการเติบโตด้วยการสร้างผลกำไรที่ยั่งยืน ประกอบกับรับรู้รายได้จากการควบรวม TTTBB เข้ามาเต็มไตรมาส ส่งผลให้ผลประกอบการไตรมาส 1/2567 มีรายได้รวมอยู่ที่ 53,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการเน้นแพ็กเกจบริการที่เพิ่มคุณภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า
รายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ 30,339 ล้านบาท เติบโตขึ้น 3.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน และ เติบโต 0.9% จากไตรมาสก่อน สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการรัฐและการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เอไอเอสมุ่งเน้นการเติบโตของลูกค้าใหม่ที่มีคุณภาพ การนำเสนอแพ็กเกจสร้างมูลค่าเพิ่มที่เหมาะสมต่อผู้ใช้งานในแต่ละกลุ่มตามช่องทางและเวลาที่เหมาะสมผ่านกลยุทธ์ส่งเสริมการขาย (Cross-sell & Upsell) ประกอบกับการปรับโครงสร้างแพ็กเกจที่เพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือน (ARPU) มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
เอไอเอสยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการส่วนลดการขายอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้อัตรากำไรของการขายอุปกรณ์ปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับใกล้เคียง 5% ในไตรมาส 1/2567 และยกระดับคุณภาพของบริการที่ลูกค้าจะได้รับผ่านบริการ 5G ด้วยการลงทุนขยายประสิทธิภาพของโครงข่าย 5G ที่มีความครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 ของประชากรไทยทั่วประเทศ ทำให้ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเครือข่ายเอไอเอส 5G โดย ณ ไตรมาส 12567 มีจำนวนผู้ใช้งาน 5G เดิบโตขึ้นใกล้เคียง 9.9 ล้านราย
บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเติบโตอย่างมีนัยสำคัญจากการรวมรายได้ของ TTTBB และการเติบโตของฐานลูกค้าคุณภาพสูง
รายได้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอยู่ที่ 7,18 ล้านบาท เติบโตอย่างแข็งแกร่ง 163% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเติบโต 41% จากไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากการรับรู้รายได้ของ TTTBB เต็มไตรมาส ร่วมกับการเดิบโตฐานผู้ใช้บริการรายใหม่ด้วยแพ็กเกจที่มุ่งเน้นคุณค่า ที่ได้รับประโยชน์จากความครอบคลุมโครงบ่ายที่เพิ่มมากขึ้นเกือบเท่าตัว คุณภาพการให้บริการที่ดี ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นด้วยนวัตกรรมใหม่และแพ็กเกจพ่วงบริการด้านคอนเทนต์ที่ครอบคลุมกระบวนการควบรวมภายหลังการเข้าซื้อกิจการเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยมุ่งความสำคัญกับขั้นตอนการดำเนินงานโดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อยอดขายและการให้บริการแก่ลูกค้า การเชื่อมทรัพยากรบุคคลและกระบวนการทำงานเข้าหากันอย่างเหมาะสม รวมถึงการปรับผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกันเพื่อส่งมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า
ธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรรักษาการเติบโตจากความต้องการด้านดิจิทัลท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย
รายได้บริการลูกค้าองค์กร (ไม่รวมโทรศัพท์เคลื่อนที่) อยู่ที่ 1,602 ล้านบาท เติบโต 20% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการรับรู้รายได้ของ TTTBB และความต้องการในบริการเชื่อมต่อที่ยังคงเติบโดสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน รายได้คงที่จากจากการรับรู้รายได้ TTTBB เข้ามาเต็มไตรมาส ชดเชยกับการลดลงของยอดขายเนื่องจากมีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นในไตรมาส 4/2566
กำไรเติบโตอย่างมั่นคงจากการขยายตัวของธุรกิจหลักและการดำเนินการที่มุ่งเน้นในการสร้างผลกำไร
เอไอเอสมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) ในไตรมาสนี้ที่ 27,769 ล้านบาท ขยายตัว 23% เมื่อเทียบกับปีก่อน และ 16% จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการเติบโตของรายได้ที่เน้นสร้างผลกำไร และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นการรวมผลประกอบการของ TTTBB ยังส่งผลดีต่อการเร่งตัวขึ้นของ EBITDA ตั้งแต่วันแรกที่ซื้อกิจการ เมื่อรวมกับอัตรากำไรจากการขายอุปกรณ์ที่ดีขึ้น ทำให้ EBITDA Margin เติบโตจาก 47% ในไตรมาส 4/2566 เป็น 52% ในไตรมาส 1/2567
อย่างไรก็ดี เอไอเอสมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 8,451 ล้านบาท เติบโตขึ้น 25% เมื่อเทียบกับปีก่อน และ 21% จากไตรมาสก่อน สอดคล้องกับผลดำเนินงานที่ดีขึ้น แม้จะมีต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นและรับรู้รายการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
*ไตรมาส 2/67 อาจอ่อนแอ
บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ระบุว่า ทางฝ่ายมองว่า ADVANC ประสบความสำเร็จด้วยค่าใช้จ่ายในการตลาดและการบริหารที่ต่ำ รายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2567 ที่แข็งแกร่ง 8.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ดีกว่าที่คาดการณ์ของทางฝ่ายและ Bloomberg consensus โดยผลประกอบการที่ดีกว่าคาดมาจากต้นทุนการตลาดที่ต่ำอย่างน่าประหลาดใจและค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลงอย่างมากจากไตรมาสก่อน ที่ ADVANC ตั้งสำรองค่าเผื่อสินทรัพย์ครั้งเดียว 450 ล้านบาท และมีการปรับปรุงบัญชีที่เกี่ยวข้องกับไอทีจาก TTTBB ในค่าใช้จ่ายบริหารของตน ซึ่งส่งผลให้กำไรเติบโตขึ้นจากไตรมาสก่อนในไตรมาส 1/2567 อย่างไรก็ดี การปรับปรุงรายได้จากมือถือและการรวม TTTBB เข้ามาเป็นสาเหตุหลักของการเติบโตเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ทั้งนี้ ในไตรมาส 1/2567 มีสัดส่วน 29% ของประมาณการกำไรปี 2567 ของทางฝ่าย
มองแนวโน้มไตรมาส 2/2567 อ่อนแอลง โดยกำไรจะอ่อนแอลงจากไตรมาสก่อน ค่าใช้จ่ายในการตลาดอาจเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากผลประโยชน์จากรณรงค์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์สิ้นสุดลง ในขณะเดียวกันรายได้จากมือถืออาจได้รับผลกระทบจากแรงผลักดันด้านการท่องเที่ยวที่อ่อนแอลงตามฤดูกาล นอกจากนี้ คาดว่าการปรับเพิ่ม ARPU จะเริ่มชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังปี 2567 เนื่องจากผลประโยชน์จากโปรแกรมปรับโครงสร้างราคาจะค่อยๆ เป็นจริงขึ้น
ดังนั้น ทางฝ่ายจึงคงคำแนะนำ "ถือ" โดยมูลค่าที่เหมาะสมที่ 239.00 บาท สำหรับ ADVANC และชอบ TRUE เนื่องจากเห็นโอกาสในการปรับปรุงผลประกอบการได้มากขึ้นจากการบรรลุผลประโยชน์ที่ใหญ่ขึ้นจากการรวมกิจการ ในขณะที่อุตสาหกรรมต้องเผชิญกับการเติบโตของกำไรที่ชะลอตัวลง ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยง ด้านภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยืดเยื้อและรุนแรง และการแข่งขันด้านราคาระหว่างผู้ให้บริการมือถือรอบใหม่