หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 0.50% ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้ตลาดเกิดความกังวลใจต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาจเข้าขั้นถดถอย ทำให้ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดต้องออกมาให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังอยู่ในทิศทางที่ "ค่อนข้างดี"
และแสดงความมั่นใจว่าตลาดแรงงานจะสามารถหลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นของอัตราว่างงานในการต่อสู้กับเงินเฟ้อช่วงที่ผ่านมาได้ ซึ่งการคาดการณ์ของ FOMC ระบุว่า อัตราการว่างงานจะอยู่ที่ 4.4% ในปี 2567 และ 2568 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 4.2% ที่คาดการณ์เมื่อเดือนส.ค. ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจคาดว่าจะอยู่ที่ 2% ในปี 2567-2570
ซึ่งจากการหั่นดอกเบี้ยลงของเฟดในครั้งนี้ สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับธนาคารหลักโลกที่มีการทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปแล้วก่อนหน้านี้ เช่น ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ส่งผลให้เชื่อว่าในช่วงปลายปี 2567 มีโอกาสได้เห็นการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของไทยตามไปด้วย
ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บลจ. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เผยผลการประชุมตัดสินใจนโยบายการเงินว่า ที่ประชุมมีมติไม่เอกฉันท์ 11 ต่อ 1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 เบซิสพอยต์ (Basis Point) หรือ 0.50%
นำอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตรา 5.25 ถึง 5.50% สู่อัตรา 4.75 ถึง 5.00% โดยมี 1 เสียงเห็นควรให้ลดเพียง 0.25% นอกจากนี้ คณะกรรมการ FOMC ยังปรับคาดการณ์ดอตพลอต (Dot Plot) โดยค่าเฉลี่ยบ่งชี้ว่า จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 0.50% ภายในปีนี้ หรือครั้งละ 0.25% ในการประชุมเดือนพ.ย. และธ.ค. พร้อมคาดว่าจะมีการปรับลดอีก 1.00% ในปี 2568
สะท้อนถึงแรงปรารถนาที่จะปลับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ระดับ 3.25% ในปลายปี 2568 ซึ่งแน่นอนว่าด้วยสถานการณ์ดังกล่าวอาจมีผลต่อไทยด้วยเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าในการประชุมแบงก์ชาติในเดือนตุลาคม 2567 นี้ มีโอกาสที่จะปรับลดอดอกเบี้ยนโยบายไทยลง สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดโลก
ทั้งนี้ ก็ต้องมาดูกันที่ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะทำผลงานได้ดีตามแผนที่วางไว้มากน้อยแค่ไหน ในการเข็นเอาโครงการดิจิทัลวอลเลต แจกเงินช่วยเหลือให้กับกลุ่มเปราะบาง เป็นเรื่องที่ดีแต่ก็เป็นเพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับสิทธิ ในขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในไทยยังไม่สิ้นสุด แม้ว่าอาจทำให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็อาจมีผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรให้เสียหาย ประชาชนเดือดร้อน
จากการที่มีแนวโน้มว่าแบงก์ชาติมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปี 2567 นี้ อย่างน้อย 1 ครั้ง ที่ระดับ 0.25% มองว่าอาจมีผลกระทบต่อกลุ่มสถาบันการเงินอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก เพราะแม้ว่าจะไม่สามารถลดดอกเบี้ยเงินกู้ได้ แต่ก็อาจปรับลดดอกเบี้ยในส่วนของเงินฝากเพื่อเป็นการชดเชยแทน
อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาลง มองว่าจะส่งอานิสงส์เชิงบวกต่อกลุ่มหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการอุปโภคและบริโภคในประเทศ โดย 7 หุ้นเด่นที่มีความน่าสนใจ ได้แก่