นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความเห็นสมาชิกนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนรวม 23 สำนัก เกี่ยวกับมุมมองการลงทุนไตรมาส 2 ปี 2568 ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้
สมมติฐานหลักที่นักวิเคราะห์ใช้
ปัจจัยที่มีผลต่อทิศทางการลงทุนจนถึงสิ้นปี 2568
สมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA)
ขณะที่คาดการณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ในสิ้นปี 2568 นั้นมีความเห็นต่างกันพอสมควร
โดยผู้ตอบร้อยละ 65 ที่คาดว่าลดลงจากเดิมมาอยู่ที่ 1.75% รองลงมาร้อยละ 25 มองว่าอาจลดลงมาที่ 1.50% และผู้ตอบร้อยละ 10 มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับลดไปอยู่ที่ 2%
ด้านคาดการณ์กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ปี 2568 ของตลาดเฉลี่ยได้ที่ 90.03 บาท ปรับลดจากผลสำรวจครั้งก่อน ซึ่งอยู่ที่ 94.95 บาท ต่อหุ้น และคาดว่า EPS Growth ของปี 2568 เฉลี่ยอยู่ที่ 13.87%
สำหรับการคาดการณ์ทิศทางหุ้นไทยนั้น คาดว่าจะปิดสิ้นไตรมาสแรกที่ 1,222 จุด และเมื่อมองตลอดปี จะแกว่งตัวในกรอบ 1,113 ถึง 1,336 จุด โดยไปปิดสิ้นปี 2568 ที่ 1,322 จุด
นักวิเคราะห์แนะนำกระจายพอร์ตลงทุน
โดยความเห็นการลงทุนต่างประเทศ แนะนำกองทุนตราสารหนี้สหรัฐฯ หรือกลุ่ม AI-Technology และ Selective Asia เช่น จีนเวียดนาม
ทั้งนี้ มีหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการลงทุนต่างประเทศและทองคำ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (DR DRx) ที่แนะนำตรงกันตั้งแต่ 4 สำนักขึ้นไป มีดังนี้ (เรียงชื่อตามอักษรย่อ) ได้แก่ BABA80 GOLD03 GOLD19 TENCENT
สำหรับในการลงทุนหุ้นไทยนั้น แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุน ในหมวดธุรกิจค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม การแพทย์ เทคโนโลยีและการสื่อสาร ในขณะที่ให้ลดน้ำหนักการลงทุนใน หมวดธุรกิจยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
รายชื่อหุ้นที่นักวิเคราะห์แนะนำตรงกันตั้งแต่ 4 สำนักขึ้นไป มีดังนี้ (เรียงชื่อตามอักษรย่อ)
หุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ หุ้นบางบริษัทในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่ราคาเกินพื้นฐาน ถูกกดดันจาก CAP WEIGHT และหุ้นที่ได้รับผลกระทบการขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ
ท้ายที่สุด นักวิเคราะห์ยังได้เพิ่มเติมการแนะนำไปยังรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายที่จะมีผลบวกต่อภาวะเศรษฐกิจ มีความคุ้มค่ากับงบประมาณ ได้แก่ เร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่หนุนศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลักดันอุตสาหกรรม New S-Curve
โดยเสนอด้านการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ได้แก่ ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมากปรับโครงสร้างธุรกิจแก่ SME สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยในการท่องเที่ยวในประเทศ และตามมาด้านการช่วยเหลือภาคประชาชน ได้แก่ นโยบายที่เอื้อต่อการเข้าถึงสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น ออกมาตรการให้ Reward ต่อลูกหนี้ที่ชำระหนี้ตรงเวลา เพื่อลดภาระ NPL ในระยะยาวและให้ความสำคัญด้านการศึกษา เป็นต้น