"ฐิติมา"แนะไทยพลิกวิกฤตส่งครามการค้าเป็นโอกาส โชว์ความพร้อมรับการลงทุน

27 มิ.ย. 2567 | 10:42 น.
อัพเดตล่าสุด :27 มิ.ย. 2567 | 11:18 น.

"ฐิติมา ชูเชิด" มองศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำเศรษฐกิจโลกปั่นป่วน สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน มีความไม่แน่นอน ชี้ไทยต้องพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ชูความพร้อมรองรับการย้ายฐานการลงทุน คาด GDP โตต่อเนื่องครึ่งปีหลังแตะ 3%

ดร.ฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหาภาค ศูนย์วิจัยและธุรกิจ (SCB EIC) เปิดเผยในงานสัมมนา Investment Forum 2024 เจาะขุมทรัพย์ลงทุนยุคโลกเดือด ในหัวข้อ “เศรษฐกิจไทยไต่วิกฤติโลกเดือด” ที่จัดขึ้นโดย กรุงเทพธุรกิจ ว่า สถานการณ์การเลือกตั้งในประเทศสหรัฐฯ นับว่าเป็นสิ่งที่สร้างความไม่แน่นอนในโลกได้ค่อนข้างมาก และอาจรากยาวไปปี 2568 เพราะนายโจ ไบเดน พยายามที่จะเพิ่มกำแพงภาษีจีน ทำให้หลายประเทศก็กังวลว่าจะโดนหางเลขไปด้วย

และเมื่อการเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้วใช่ว่าทุกอย่างจะจบลง เพราะทั้งนายโดนัลด์ ทรัมป์ และไบเดน ต่างก็มีฐานเสียงเป็นของตัวเอง ก็ไม่แน่ในว่าต่างคนต่างจะยอมรับในผลของการเลือกตั้งที่ออกมาในครั้งนี้หรือไม่ เป็นความไม่แน่นอนที่โลกจะได้รับจากสหรัฐฯ ทั้งนี้ ผลคะแนนโหวตล่าสุดเดือนมิถุนายน 2567 จะเห็นได้ว่า ทรัมป์ ชนะคะแนเสียงในหลายรัฐค่อนข้างมาก ฝั่งไบเดนก็มีอย่บ้างในบางรัฐ โดยจากนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าไบเดนจะตีตื้นขึ้นมาได้มั้ย นโยบายการบริหารเศรษฐกิจและเงินเฟ้อทำได้ดีแค่ไหน

ความไม่แน่นอนดังกล่าว มีผลต่อนโยบายเศรษฐกิจและการค้า เพราะหากว่าเป็นทรัมป์ขึ้นมาการคาดเดาจากคู่ค้าก็ทำได้ยาก และจีนถูกกดดันมากขึ้นจากนโยบาย America First ไม่สนใจในเรื่องของความร่วมมือหรือสนับสนุนกับประเทศอื่น ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการร่วมมือระหว่างประเทศที่จะเกิดขึ้นกับสหรัฐฯ รวมถึงการใช้พลังงานฟอสซิล ไม่เชื่อเรื่อง Net Zero ทำให้การเปลี่ยนผ่านอาจคืบหน้าได้ยาก

นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าหาก ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งอาจมีการแทรงแซงการทำงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ทำให้เกิดความไม่แน่นอนของตลาดการเงิน ซึ่งมันอาจลุกลามไปถึงตลาดโลกด้วย แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าทรัมป์จะมาพร้อมกับความไม่แน่นอนที่สูงกว่า แต่ก็ใช่ว่าไบเดนจะดูเหนือกว่า เพราะแม้ว่านโยบายทั้ง 2 จะแตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ America First 

ประเด็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ชาติ (BOT) ในปี 2567 มองว่าอาจเห็น 1 ครั้งในช่วงปลายปี ปัจจัยหลักมาจากมุมมองต่อเศรษฐกิจในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงในด้านต่ำมากกว่าด้านสูง ในเรื่องของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตก็เป็นอีกความหวังหนึ่ง แต่จากเท่าที่มีการอภิปรายงบประมาณไปก่อนหน้านี้ก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่ได้เจ้าภาพงบในครั้งนี้ ทำให้ความไม่แน่นอนมีค่อนข้างสูงมาก แต่ที่แน่นอนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังปีนี้ดูมีความเสี่ยงเยอะ

ในจุดนี้อาจทำให้ กนง. มองเห็นว่ามีความเสี่ยงมากดดันเศรษฐกิจไทยเยอะ ความเปราะบางของครัวเรือนเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดอาจเป็นน้ำหนักของเศรษฐกิจที่เพิ่มเข้ามาจากในวันนี้ที่ กนง. เห็นว่ายังค่อยๆ โตได้ ส่งผลให้อาจมีการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ได้ 1 ครั้ง และอีก 1 ครั้งในปี 2568

ด้านหนี้ครัวเรือนเองก็ดูมีความน่ากังวล จากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังมีปัญหา K ขาล่างที่หนักขึ้น เนื่องจากครัวเรือนไทยเปราะบางมากขึ้นจากปีก่อน สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 91% สะท้อนจากกลุ่มล่างที่รายได้ฟื้นตัวช้า ทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย มีพฤติกรรมในการจ่ายหนี้แบบขั้นต่ำหรืออาจมีหนี้ฟ้อง การผิดนัดชำระหนี้มีมากขึ้น ซึ่งในธุรกิจขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) หรือรายย่อยก็กำลังเผชิญปัญหาในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน แม้ว่าเศรษฐกืจไทยภาพรวมยังไปได้ แต่ในระดับล่างกำลังแย่

ที่ผ่านมาภาครัฐพยายามเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง แต่มองว่าการแก้ไขปัญหาจะดีขึ้นต้องครอบคลุมไม่ใช่เพียวการแก้หนี้อย่างเดียว ต้นลดดอกเบี้ยลดร่วมด้วย ต้องเยียวยาลดค่าใช้จ่ายต่อเนื่องเพราะสภาพคล่องกลุ่มนี้ยังมีไม่เพียงพอ รวมถึงต้องเสริมในเรื่องของรายได้ด้วย 

ในส่วนของการลงทุนเริ่มสูงตั้งแต่ปลายปี 66 เม็ดเงินจาก FDI ไม่สมำเสมอ ไม่มีเทรนขึ้น และต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ทำให้มองว่าไทยความสามารถแย่และไม่เซกซี่แล้ว แต่ด้วยปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ทำให้มองว่าโอกาสที่ต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนโดยเฉพาะในประเทศไทย แต่สิ่งที่ทำให้ไทยเซ็กซี่มากขึ้นคือต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ทั้งเรื่องทักษะประชากร เรื่องเทคโนโลยี เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงรัฐบาลต้องมีการปลดล็อกเงื่อนไขหรือกฎหมายบางอย่างลง เพื่อเอื้อให้ธุรกิจไทยสามารถเปลี่ยนไปตามเทรนโลกได้ไม่ติดขัด

สำหรับภาพรวมในไตรมาส 2/2567 มองว่าจะมีการปรับตัวที่ดีขึ้นกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2567 ที่ผ่านมา หลักๆ เผ็นผลมาจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่มีการอัดอั้นมาจากปีก่อน การส่งออกตัวเลขเป็นบวก การท่องเที่ยวฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดว่า GDP ครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2% จากไตรมาสแรกที่ทำได้ 1.5% หรือมีการไต่ระดับดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่า GDP ครึ่งปีหลังจะทำได้ประมาณ 3% ทำให้เมื่อเฉลี่ยทั้งปี 2567 แล้ว GDP จะอยู่ที่ประมาณ 2.5% ดีกว่าปีก่อน แม้จะยังต่ำว่าค่าเฉลี่ยเดิมในอดีตที่เคยทำได้ดีกว่านี้

ทั้งนี้ ครึ่งหลังปี 2567 มองว่าไทยเองก็ยังมีความเสี่ยงที่ต้องจับตา ทั้งในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ สงครามที่มีความไม่แน่นอนว่าจะรุนแรงขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจไปกระทบต่อภาคการส่งออก การท่องเที่ยวที่มีการฟื้นตัวมากขึ้นแต่ไส้ในแล้วอัตราการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อาจกระทบเรื่องการบริโภคและการจับจ่ายใช้สอย โดยความหวังเดียวก็ขึ้นอยู่กับว่างบประมาณเบิกจ่ายของรัฐบาลจะทำได้มากน้อยแค่ไหน และเอกชนจนมีความเชื่อมั่นใจการลงทุนเพิ่มหรือไม่

เทรนโลกมาในเรื่องของนวัตกรรม Sustainability ทำยังไงให้ไทยเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โลกกำลังแบ่งขั่วและรุนแรงมากขึ้น หากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนนักข้อขึ้น ไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเป็นกลางที่จะได้ประโยชน์สูง ไทยมีความเป็นมิตรมากกับทุกประเทศ มีความพร้อมเรื่องพลังงานสะอาด มองว่าเป็นจุดแข็งที่ดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมไทยต้องรับปรับตัวและคว้าโอกาส"ดร.ฐิติมา กล่าว