นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) พร้อมนางปรารถนา ชัยญานะ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำพูน ให้การต้อนรับคณะการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ประจำปี พ.ศ. 2565 จังหวัดลำพูน
โดยมีนายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานพิธีเปิด ทั้งนี้ นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรนำทีมกรมส่งเสริมฯ ต้อนรับและร่วมเป็นหน่วยงานรับการตรวจประเมินพร้อมกับ ส.ป.ก. ด้วย ณวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ ตำบลบ้านโฮ่งอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
โดยรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Governance Award)เป็นรางวัลที่มอบให้หน่วยงานภาครัฐ เพื่อสร้างแรงจูงใจ และสร้างขวัญกำลังใจในการเชิดชูผลการดำเนินงาน
การปฏิบัติราชการจากการเปิดระบบราชการโดยให้ประชาชนและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการและทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม
ตั้งแต่การให้ข้อมูลข่าวสาร (Inform) การรับฟังความคิดเห็น (Consult) การเข้ามาเกี่ยวข้อง(Involve) ไปจนถึงการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมอำนาจและศักยภาพของประชาชนให้เข้มแข็ง
รวมทั้งสร้างความภาคภูมิใจของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหรือผลักดันการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ อันนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 5 ประเภท ด้วยกันได้แก่
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(สนง.ก.พ.ร.) จึงได้กำหนดให้มีการมอบรางวัลเลิศรัฐประจำปี 2565 ให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่มีความโดดเด่นในการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารจัดการภาครัฐ และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเสนอผลงานเพื่อขอรับรางวัล ผ่านระบบออนไลน์ กรมส่งเสริมการเกษตรและสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, “วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน” จึงร่วมกันเสนอผลงาน ประเภทร่วมใจแก้จน เพื่อขอรับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2565 สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน
ซึ่งมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ และมีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการพัฒนา เปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ผลงานที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้
ซึ่งผลงานดังกล่าวได้ผ่านการตรวจประเมินขั้นตอนที่ 1 (ตรวจประเมินจากเอกสาร) ใน “ระดับดี” โดยคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ จะดำเนินการตรวจประเมินในขั้นตอนที่ 2 (การตรวจ ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน) เพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานใน “ระดับดีเด่น” ในวันนี้
นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้ร่วมส่งผลงาน “วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ อาเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน” ที่ผ่านการพิจารณาในการขอรับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2565 สาขาการบริหารราชการแบบมี ส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน
ขั้นตอนที่ 1 (ตรวจประเมินจากเอกสาร) ใน “ระดับดี” ซึ่งการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มี ว่าที่ร้อยตรีชนะ ไชยชนะ เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ
ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง มีผลิตภัณฑ์เด่นและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ลำไย, มะม่วง, กระเทียม, หอมแดง, งาดา และพืชผักสมุนไพร
มีคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนฯ 11 คน แบ่งหน้าที่ในการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกทั้ง 46 คน ต่อคนในชุมชน และเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง โดยการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำพูน สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านโฮ่ง และหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน
โดยตนเองหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลงาน “วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน” จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกผลงานใน “ระดับดีเด่น”
นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม รองเลขาธิการ (ส.ป.ก)กล่าวว่า สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีพันธกิจ 4 ข้อ ประกอบด้วย
ดังนั้นทาง (ส.ป.ก.)จึงดำเนินการให้เป็นไปในกรอบภาระกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อเกษตรกรไม่ว่าเรื่องที่ดินทำกิน เรื่องคุณภาพชีวิต มีอาชีพรายและการสร้างรายได้ ส่วนการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน คือส่วนหนึ่งของการนำเสนอต่อคณะกรรมการให้เห็นความสำเร็จใน 4 มิติดังกล่าว
และเราเชื่อว่า ในการประเมินผลของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(สนง.ก.พ.ร.) เราน่าจะได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ประจำปี พ.ศ. 2565 อย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมาเราผ่านในรอบแรกมาแล้ว และครั้งนี้เป็นการลงพื้นที่เพื่อตรวจประเมินผลพิจารณาในการขอรับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2565 สาขาการบริหารราชการแบบมี ส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน
ขั้นตอนที่ 2 ใน “ระดับดีเด่น” สอดคล้องการตรวจประเมินของคณะกรรมการ ส่วนการต่อยอดจากการได้รับรางวัลเลิศรัฐทาง (สนง.ส.ป.ก.)จะนำไปต่อยอดขยายผลไปในพื้นที่อื่นซึ่งเป็นรูปแบบที่เราประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยถือว่ามาตรฐานรางวัลประกอบจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศ สามารถเรียนรู้ นำไปใช้ และขับเคลื่อนต่อไปได้