วันที่ 30 ตุลาคม 2563 นาย นพดล มากทอง โฆษกมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก "มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ" มีเนื้อหาโดยสรุปว่า ปีนี้พายุเข้าประเทศไทย 3 ลูก ได้แก่ ซินลากู ,โนอึล ,โมลาเบ ซึ่งพายุโมลาเบนั้นเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวถือเป็นปรากฎการณ์ที่มีไม่บ่อย ที่พายุจะเข้ามาในช่วงนี้ โดยในอดีดพายุในฤดูหนาวมักจะมีผลกับภาคใต้ เช่นพายุ แฮเรียต เกย์ ลินดา ปีนี้นับว่าแปลกและแตกต่าง
นอกจากนี้แล้ว ยังมี"พายุโคนี" อีกลูกหนึ่งที่แรงไม่ธรรมดา ทำท่าจะเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นเคลื่อนตัวลงมาทะเลจีนใต้ หลายสำนักพยากรณ์เริ่มให้ความเห็นว่า พายุลูกนี้จะมีผลกับประเทศไทยในภาคอีสาน ราววันที่ 7-9 พย.นี้
ทั้งนี้ นายนพดล ยืนยันว่า ข้อมูลที่นำเสนอไม่ได้ต้องการให้ตื่นตระหนก แต่อยากให้ใช้เป็นข้อมูลนี้วางแผนในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว และขอให้ติดตามข้อมูลจากทางกรมอุตุนิยมวิทยาตลอด 24 ชม. ซึ่งจะมีการเตือนเตือนล่วงหน้าตลอด และที่สำคัญขอให้ติดตามกันต่อไปเพราะพายุยังไม่หมด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
จับตา พายุลูกใหม่ "พายุโคนี" เส้นทางเดินถึงไทย อีสานตอนใต้เตรียมรับมือฝนตกหนัก
เกาะติด พายุลูกใหม่ "โคนี" จ่อเข้าไทยวันที่ 7 พ.ย. คาดอีสานตอนล่างอ่วม
เตือนภัยพายุลูกใหม่ "โคนี"จ่อถล่มฟิลิปปินส์
ขณะที่เพจ "เตือนภัยพิบัติ วาตภัย ฝนฟ้าพายุเพจ 2 " ก็ได้รายงานข้อมูลเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 (เวลา 16.00 น.) พายุโคนี Goni ได้ทวีความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นโคนีแล้วลมคงที่ 129 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลมกระโชก 157 กิโลเมตรต่อชั่วโมง(คาดว่าจะเข้าถล่มประเทศฟิลิปปินส์)ประมาณวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 บริเวณเกาะลูซอนด้วยความเร็วลมสูงสุด 231 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลมกระโชก 277 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าพายุลูกนี้จะเป็นลูกที่รุนแรงที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกในปีนี้
โดยก่อนจะเคลื่อนตัวเข้าประเทศเวียดนามคาดการณ์ว่าจะมีกำลังแรงสูงสุด ช่วงประมาณวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ด้วยลมคงที่ 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลมกระโชก 296 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเกือบ300 และคาดการณ์ว่า จะเคลื่อนตัวลงทะเลจีนใต้ราวประมาณวันที่ 2 ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563
เมื่อลงทะเลจีนใต้แล้วต้องจับตาดูอีกครั้งว่าทิศทางของพายุจะเคลื่อนตัวไปในทิศทางใด จากการคาดการณ์ข้อมูลแต่ละข้อมูล ก็มีความแตกต่างกัน การอัพเดทข้อมูลวันที่ 29 เวลาประมาณ 16.00 น ข้อมูล gfs ของอเมริกา ให้ขึ้นไปประเทศจีนบริเวณ ฮ่องกง
ข้อมูล ecmwf ให้เคลื่อนตัวเข้าประเทศเวียดนามโดยมีผลกระทบต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ข้อมูลยังคงมีความแตกต่างกัน ต้องติดตามข้อมูลในช่วงที่พายุไต้ฝุ่นโคนีลงทะเลจีนใต้ตอนบนหรือตอนกลาง)
แบบจำลองข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ให้สลายตัวเนื่องจากมีความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนบนและปกคลุมประเทศเวียดนาม (นับเป็นพายุอีกลูกที่น่าติดตาม)
ทั้งนี้สาเหตุของการเกิดพายุ เนื่องจากมีน้ำทะเลอุ่นๆเหมาะสมการเกิดพายุ กระแสน้ำอุ่นจากปรากฏการณ์ลานีญา และลมตะวันออกค่อนข้างแรง