สปสช.โอนงบ"บัตรทอง"รอบแรกสู่หน่วยบริการแล้ว 2.19 หมื่นล้านบาท

30 พ.ย. 2563 | 09:38 น.

“อนุทิน” ลงนามประกาศหลักเกณฑ์จัดสรรงบกองทุนบัตรทอง ปีงบประมาณ 2564 ระบุรอบแรกกระจายงบสู่โรงพยาบาลแล้ว 2.19 หมื่นล้านบาท เตรียมโอนเพิ่มเติม 5.4 พันล้านบาท

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ลงนามในประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขหน่วยบริการ พ.ศ. 2563 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 สปสช. ได้เร่งโอนงบบัตรทองประมาณงวดที่ 1 ให้กับหน่วยบริการทั่วประเทศแล้ว จำนวน 21,885,372,379.42 บาท เพื่อเป็นค่าบริการผู้ป่วยนอก (OP), บริการผู้ป่วยใน (IP), บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP) และงบค่าใช้จ่ายสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร เสี่ยงภัย และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอยู่ระหว่างดำเนินการโอนเงินอีกจำนวน 5,407,701,226.93 บาท

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"บัตรทอง" ย้ายหน่วยบริการเกิดสิทธิทันที ดีเดย์ 1 ม.ค.64

เช็คง่ายๆ แค่ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรู้สิทธิ "บัตรทอง"

9 เครือข่ายหน่วยบริการชุมชนอบอุ่นรองรับผู้ถือบัตรทอง

สิทธิบัตรทองใช้ Health Wallet บนแอปเป๋าตัง จองคิวตรวจ

 

“ในทุกปี สปสช. จะโอนงบบัตรทองลงไปที่หน่วยบริการทั่วประเทศโดยเร็ว เพื่อให้นำงบไปบริหารจัดการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้เกิดช่องว่างช่วงรอยต่อปีงบประมาณ แม้ว่าปีนี้จะล่าช้าไปบ้างจากข้อติดขัดทางกฎหมาย แต่ประธานบอร์ด สปสช. ได้กำชับ สปสช. ให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชน ซึ่ง สปสช. ดำเนินการทันทีหลังประกาศมีผลบังคับใช้ โดยหน่วยบริการทั่วประเทศได้รับโอนงบประมาณเหมาจ่ายในรอบแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว” เลขาธิการ สปสช. กล่าว

 

สปสช.โอนงบ\"บัตรทอง\"รอบแรกสู่หน่วยบริการแล้ว 2.19 หมื่นล้านบาท

 

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณสู่หน่วยบริการปี 2564 มีหลักการสำคัญ นอกจากปรับสอดคล้อง National guideline สาธารณสุข แนวทางการจ่ายที่ไม่ซับซ้อนแล้ว ยังเน้นการสร้างความเป็นธรรมต่อประชาชนและผู้ป่วยที่จะได้รับบริการสาธารณสุข เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพผลงานบริการสาธารณสุข การสร้างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน การจัดบริการที่สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ลดความแออัดในหน่วยบริการภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินกองทุนในด้านต่าง ๆ ทั้งการจ่ายค่าบริการสาธารณสุข การสนับสนุนการจัดบริการ จ่ายกรณีค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ สนับสนุนการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ไทยและจีโนมิกส์ไทย เป็นต้น

 

สปสช.โอนงบ\"บัตรทอง\"รอบแรกสู่หน่วยบริการแล้ว 2.19 หมื่นล้านบาท

สปสช.โอนงบ\"บัตรทอง\"รอบแรกสู่หน่วยบริการแล้ว 2.19 หมื่นล้านบาท