นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยว่า ในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศปก.ศบค.) หรือ ศบค.ชุดเล็กในวันนี้ ที่มีท่านเลขาธิการ สมช. เป็นประธาน พร้อมด้วย ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และ ศ.นพ.อุดม คชินทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้าร่วมประชุมด้วย และได้ให้ข้อชี้แนะที่เป็นประโยชน์หลายอย่าง
การประชุมมีเรื่องที่ประชุมหลายเรื่อง ทั้งนี้มี 3 เรื่องสำคัญที่ได้คุยกัน คือ 1.ข้อเสนอแผนแนวปฏิบัติผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ระลอกใหม่ เป็นภาพใหญ่ ภาพรวมที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)เสนอขึ้นมา 2.การขยายเวลานั่งรับประทานอาหารในร้าน การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงการเล่นดนตรีสดในร้าน และ 3.เตรียมการเปิดการเรียนการสอน ในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งทั้ง 3 เรื่องก็ได้มีการประชุมเบื้องต้นไปบ้างแล้ว
โฆษก ศบค. กล่าวว่า เบื้องต้นที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กยังคงให้ จ.สมุทรสาคร เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเพียงจังหวัดเดียว จากเดิม 5 จังหวัด ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุด ลดจาก 23 จังหวัดเหลือ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี ส่วนพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) ปรับจาก 11 จังหวัด เป็น 20 จังหวัด พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) จาก 38 จังหวัด เหลือ 17 จังหวัด และพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) มีอยู่ 35 จังหวัด
สำหรับ จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ยังคงให้มีการปิดสถานที่ส่วนใหญ่ตามเดิม สถานบริการ ผับบาร์ คาราโอเกะ สถานอาบน้ำ อาบอบนวด โรงเรียนกวดวิชา สถานศึกษา สนามเด็กเล่น สนามพระเครื่อง สวนสนุก งานประชุม สถานีขนส่งสาธารณะ
ส่วนกิจการที่สามารถเปิดได้ คือ ตลาดนัด ร้านอาหารเปิดได้แต่ให้ซื้อกลับไปทานที่อื่นและเปิดให้บริการได้ไม่เกิน 21.00 น. ห้างสรรพสินค้า สถานเลี้ยงเด็กเล็ก สถานที่พักผู้สูงวัยแบบประจำ รวมถึงสถานประกอบการและโรงงานต้องมีมาตรการป้องกันโรคและจัดให้มีระบบติดตามตัวของคนที่เดินทางเข้าออกโรงงานทุกคน
นอกจากนี้ ที่ประชุมศปก.ศบค. ยังได้มีข้อเสนอที่ให้อำนาจ ศบค.พิจารณาแบ่งพื้นที่ในรายอำเภอของแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน เช่น อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ที่ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะให้โอกาสเปิดกิจการหรือทำกิจกรรมต่างๆได้
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอทั้งหมดดังกล่าว เป็นเพียงร่างซึ่งต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ในวันที่ 29 ม.ค.นี้ก่อน
ข้อเสนอการปรับพื้นที่ที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ โดย ศปก.สธ. ใช้รูปแบบจังหวัดแนวกันชน กับจังหวัดที่มีความเสี่ยงที่จะมีการกระจายโรคไปพื้นที่อื่น
พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด -> ควบคุมสูงสุด -> ควบคุม -> เฝ้าระวังสูง -> เฝ้าระวัง
จังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ/จํานวนน้อย และรายอ่าเภอมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคภายในและ นอกจังหวัดต่างกัน จังหวัดอาจพิจารณาปรับลดหรือเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการควบคุม แบบบูรณาการ ตามเกณฑ์ รายอ่าเภอได้ •
เกณฑ์ใช้ปรับพื้นที่จังหวัดตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ
สถานการณ์การระบาดของโรคในจังหวัด (ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7-14-28 วัน) จากแผนที่การระบาด
มีแหล่งโรคที่เสี่ยงต่อการกระจายไปพื้นที่จังหวัด-ภูมิภาคอื่น เช่น สถานบันเทิง บ่อน สนามชนไก่
จังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการลักลอบเดินทางเข้าประเทศ ถึงพื้นที่เขดชั้นในประเทศ / มาตรการเฝ้าระวังเชิงรุกในชุมชน สถานประกอบการ และพบสัดส่วนผู้ติดเชื้อน้อย (<1%, 1-5%)
เกณฑ์ที่ใช้ในการปรับพื้นที่ควบคุมตามมาตรการแบบบูรณาการ คือ
-สถานการณ์ระบาดในจังหวัด การพบผู้ติดเชื้อใน 7 วัน 14 วัน หรือ 28 วัน จากแผนที่การระบาด อีกข้อมีแหล่งโรคเสี่ยงระบาดไปพื้นที่อื่นๆ เช่น สถานบันเทิง บ่อน สนามชนไก่
-จังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการลักลอบเดินทางเข้าประเทศ
-มาตรการเฝ้าระวังในชุมชน สถานประกอบการและสัดส่วนของผู้ติดเชื้อ