หลังจากเมื่อวันที่ วันที่ 19 พ.ค.64 มีการออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เลื่อนเปิดเทอม หรือ การเลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจําปีการศึกษา 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการลงนามโดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยเนื้อหาโดยสรุปคือ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมประชุมหารือเรื่องการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มีมติให้เลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จากวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2564 นั้น
พร้อมกันนี้ มีการประกาศกําหนดแนวปฏิบัติการเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจําปีการศึกษา2564 จำนวน 2 ข้อ ดังนี้
ข้อ 1 ให้โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดและในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการเลื่อนการเปิด ภาคเรียนที่ 1 ประจําปีการศึกษา 2564 เป็นวันที่ 14 มิถุนายน 2564
ข้อ 2 โรงเรียนหรือสถานศึกษาแห่งใดมีความพร้อม และประสงค์จะเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจําปี การศึกษา 2564 ก่อนวันที่กําหนดตามข้อ 1 ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาแห่งนั้นดําเนินการ ดังนี้
1.โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ให้จัดการเรียนการสอน เฉพาะรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล (On Air, Online, On Demand, On Hand ผ่านทางไปรษณีย์) เท่านั้น
2. โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) หรือพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) สามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั้ง ๕ รูปแบบ (On Site, On Air, Online, On Hand, On Demand) โดยรูปแบบ On Site นั้น โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องผ่านเกณฑ์การประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid + (TSC +) และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดก่อน
ทั้งนี้ โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดและในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการต้องปฏิบัติตาม มาตรการของกระทรวงสาธารณสุขโดยเคร่งครัด
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบว่า ระบบ Thai Stop Covid+ (TSC +) หรือ อ่านว่า ที เอส ซี พลัส เป็นถูกออกแบบระบบของกรมอนามัย
ซึ่งกรมอนามัยจัดทำลิงก์ระบบ Thai Stop Covid+ (TSC +) https://stopcovid.anamai.moph.go.th/th/school เพื่อให้โรงเรียน สถาบันการศึกษา ประเมินตนเอง ของโรงเรียน 44 ข้อ ของกรมอนามัย ประเมินก่อนเลือกรูปแบบการเปิดเรียน
โดยการประเมินข้อ 1-20 ถ้าไม่ผ่านคือไม่ผ่านเลย ดังนั้นโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษา ต้องทำให้ผ่านก่อน แต่ถ้าประเมินแล้วผ่าน แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาเงื่อนไขของพื้นที่ด้วยว่าอยู่ในพื้นที่สีใด
ซึ่งลิงก์เข้าประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษา ก่อนเปิดเรียน ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19 มีการระบาดในวงกว้าง องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้โรคโควิด 19 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern)
โดยแนะนำให้ทุกประเทศเร่งรัดการเฝ้าระวังและป้องกันความเสี่ยงจากโรคโควิด 19 สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวโน้มที่จะเกิดการแพร่ระบาดในสถานศึกษา ดังนั้น การสร้างความตระหนัก รู้เท่าทัน และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันไมให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพนักเรียน ครู ผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา อันเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศในอนาคต
ที่มาข้อมูล กรมอนามัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :