ประเทศไทยกำลังอยู่ในกระบวนการนำวัคซีนต้านไวรัสโควิด 19 แบบชนิด mRNA ตัวแรก ที่จะทำการทดลองในมนุษย์ ถ้าวัคซีนนี้ประสบความสำเร็จ ไทยอาจเป็นผู้ส่งออกวัคซีนสู่ตลาดเอเชีย
ปีที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัววัคซีนที่ใช้ mRNA จากการวิจัยของบริษัทต่างๆ เช่น ไฟเซอร์จากเมืองนิวยอร์ก บิออนเทคจากเยอรมนี และโมเดอร์น่าจากรัฐแมสซาชูเซตส์ วัคซีนเหล่านี้ได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถต้านเชื้อโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ถูกแจกจ่ายให้ผู้คนแล้วกว่าร้อยล้านคน
ในภูมิภาคเอเชีย จีน อินเดีย และญี่ปุ่น เป็นประเทศต้นแบบวัคซีนและได้ทำการทดลองเกี่ยวกับวัคซีน mRNA อย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องด้วยภาวะเร่งด่วนจากการขาดแคลนวัคซีนและยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยจึงกลายเป็นผู้ผลิตวัคซีนหน้าใหม่เพื่อที่จะส่งออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และใช้ภายในประเทศเอง เพราะยอดผู้ติดเชื้อของประเทศไทยตอนนี้ต่อวันก็พุ่งสูงถึง 3,500 คน เป็นยอดสูงที่สุดตั้งแต่เกิดการระบาดไวรัสนี้เลย
Nature ได้สัมภาษณ์นักภูมิคุ้มกันวิทยา ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยวัคซีนจุฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ชื่อว่า ChulaCov19
คำตอบ: ผมได้ก่อตั้งห้องทดลองที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับด้านวัคซีนโดยเฉพาะเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ทางศูนย์วิจัยได้ทำการพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้รักษาโรคไข้ส่า โรคฉี่หนู โรคมะเร็งโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ และเมื่อปี 2560 ทางเราได้เชิญผู้พัฒนาเทคโนโลยี mRNA คนแรก ดริว เวซแมน จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รัฐฟิลาเดลเฟีย สหรัฐฯ เพื่อพูดงานอภิปรายประจำปีของทางศูนย์วิจัย แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทางศูนย์วิจัยจึงหันมาพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสแทน
คำตอบ: ChulaCov19 มีผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจจากการศึกษาทางคลินิกวิจัย ที่ยังไม่ได้เผยแพร่อย่างเป็นทางการ จากการทดลองในหนูและโมเดลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เราวางแผนที่จะทำการทดลองระยะที่ 1 ในมนุษย์จริง ๆ ช่วงเดือนมิถุนายน แถมเราได้ทำการพัฒนาวัคซีนใหม่ต้านสายพันธุ์ B.1.351 และ B.1.1.7 อีกด้วย และแน่นอนว่าทางทีมงานยังจับตาดูสายพันธุ์ B.1.617 ที่มีต้นกำเนิดจากอินเดียอย่างใกล้ชิดอีกด้วย ทางด้านศูนย์วิจัยมีความปลื้มปิติที่ดำเนินการมาไกลขนาดนี้ แต่ก็ยังใช้ระยะเวลาตั้งกว่า 1 ปีในการดำเนินการกับมนุษย์จริง ๆ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามหลังบริษัทยารายใหญ่ระดับโลกหลายเจ้า
คำตอบ: หากทำข้อตกลงการยกเว้นการคุ้มครองสิทธิบัตรวัคซีนป้องกันโควิด-19ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางได้ ก็จะเป็นเรื่องดีมาก เพราะมันจะทำให้เราได้ใช้เทคโนโลยีที่ปัจจุบันราคาสูงหรือเข้าถึงได้ยาก ซึ่งส่งผลให้วัคซีนของเราประสิทธิภาพดีขึ้นและราคาถูกลง แต่ถึงกระนั้นการยกเว้นการจดสิทธิบัตรก็ยังคงเป็นขั้นแรกอยู่ดี ศูนย์วิจัยของเรายังต้องการเงินทุน กำลังการผลิตในด้านท้องถิ่น และการเข้าถึงวัตถุดิบที่สำคัญ
คำตอบ: องค์กรอนามัยโลก สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา และองค์กรอื่น ๆ มากมายทั่วโลก กำลังหาทางระบุระดับของแอนติบอดีที่เป็นกลางที่วัคซีนควรกระตุ้นในการป้องกันอย่างเพียงพอ การป้องกันนี้ จะใช้เพื่อประเมินประสิทธิผลของวัคซีนโดยไม่ต้องพึ่งการทดลองขั้นปลาย ไม่เหมือนกับวัคซีนป้องกันโรคหวัดที่ต้องใช้การทดลองขั้นปลาย เรายังขอตัวอย่างเลือดจากคนที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ - ไบโอเอนเทค จากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย และตัวอย่างเลือดของคนที่ฉีดวัคซีนแอสตร้า เซเนก้า และซิโนแวคจากประเทศไทย ขณะเดียวกันหากระดับภูมิคุ้มกันจากตัวอย่างในวัคซีนที่จุฬาทดลองมีค่าที่ดีเทียบเท่าหรือดีกว่า วัคซีนอื่นๆที่ขอตัวอย่างมา ก็อาจทำให้วัคซีนของไทยผ่านการอนุมัติใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยไม่ผ่านการทดลองขั้นปลายหรือเฟสที่ 3