WHO ชี้วัคซีนต้านโควิดชนิด mRNA มีประโยชน์มากกว่าเสี่ยง

10 ก.ค. 2564 | 06:38 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ก.ค. 2564 | 13:47 น.

องค์การอนามัยโลก (WHO) เชื่อว่า ประโยชน์ของวัคซีนต้านโควิด-19 ชนิด mRNA มีมากกว่าความสี่ยง ที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่พบบ่อยในผู้ชายที่มีอายุน้อย

คณะอนุกรรมการด้านโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับโลกด้านความปลอดภัยของวัคซีนประจำองค์การอนามัยโลก (WHO Global Advisory Committee on Vaccine Safety - GACVS) ระบุในแถลงการณ์ที่เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (9 ก.ค.)ว่า ผู้เชี่ยวชาญของ WHO เชื่อว่า ประโยชน์ของวัคซีนชนิด mRNA ในการป้องกันโรคโควิด-19 นั้น มีมากกว่าความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

 

"ประโยชน์ของวัคซีนโควิดชนิด mRNA มีมากกว่าความเสี่ยง โดยจะช่วยลดจำนวนผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และลดการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19" คณะอนุกรรมการฯระบุ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า พบผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบน้อยรายมากหลังจากการฉีดวัคซีนโควิดชนิด mRNA  โดยกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยในผู้ชายที่มีอายุน้อยและหลังจากฉีดวัคซีนโดสที่สองแล้ว ซึ่งโดยปกติมักจะพบภายหลังจากการฉีดวัคซีนแล้ว 2-3 วัน"

 

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่า  บุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนควรไปพบแพทย์ทันที หากพวกเขามีอาการที่บ่งบอกถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

 

ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA นั้นเป็นการนำชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 (mRNA) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนปุ่มหนามของเชื้อไวรัส (Spike protein) มาสังเคราะห์เป็นรหัสคำสั่งที่เรียกว่า S-spike mRNA และเมื่อฉีดวัคซีนชนิด mRNA เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เซลล์ในร่างกายผลิตโปรตีนส่วนที่เป็นปุ่มหนามของไวรัสขึ้น

 

โปรตีนที่ผลิตได้ในส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Antigen) ให้ร่างกายรู้จักกับเชื้อโควิด-19 และสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) ขึ้นเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยในปัจจุบันมีวัคซีนชนิด mRNA อยู่ 2 ตัวได้แก่ วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา