ผู้สื่อข่าวรายงาน ความคืบหน้าของ "แผนฉีดวัคซีนโควิด" ล่าสุด โดยเฉพาะยี่ห้อ "ไฟเซอร์" และ "แอสตร้าเซนเนก้า" ที่มีมติรับทราบในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันอังคารที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบมติครม.ดังกล่าว พบว่า เป็นมติรับทราบ "สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) หรือ ศบค.) ครั้งที่ 9/2564" เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2564" ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีการประกาศใช้เคอร์ฟิว และล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) 10 จังหวัด
โดยหนึ่งในมติศบค. ที่มีการรายงานต่อที่ประชุมครม. คือ "แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19" โดยมีรายละเอียดในส่วนของ "การปรับแผนการฉีดวัคซีนโควิดป้องกันโรคโควิด - 19" ที่ระบุว่า
กลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในพื้นที่ระบาดรุนแรง ผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 75 เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จึงต้องระดมสรรพกำลังการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในพื้นที่ระบาดรุนแรง
โดยกำหนดเป้าหมายการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,000,000 คน ในกรุงเทพมหานคร ภายใน 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มความครอบคลุมวัคซีนกลุ่มนี้เป็นร้อยละ 80 รวมทั้งสำรองวัคซีนบางส่วนเพื่อใช้ควบคุมการระบาดในพื้นที่กรุงเทพเทพมหานคร และปริมณฑล (กลยุทธ์ขนมครก)
นอกจากนี้ ศบค. ยังมีการพิจารณา "ข้อเสนอแนวทางบริหารจัดการวัคซีนบริจาคจากต่างประเทศ" แบ่งเป็น วัคซีน Pfizer (ไฟเซอร์) จำนวน 1,500,000 โดส และวัคซีน AstraZeneca (แอสตร้าเซนเนก้า) จำนวน 1,050,000 โดส โดยมีรายละเอียดดังนี้
วัคซีน Pfizer
กลุ่มเป้าหมาย
การกระจาย
พื้นที่เป้าหมาย(พื้นที่ระบาดท่องเที่ยว)
วัคซีน AstraZeneca
กลุ่มเป้าหมาย
การกระจาย สำหรับฉีดเป็นเข็มที่ 1
พื้นที่เป้าหมาย(พื้นที่ระบาดท่องเที่ยว)
การดำเนินงานฉีดวัคซีน
ทั้งนี้ การบริหารจัดการวัคซีนบริจาคสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - 19
อย่างไรก็ตามในที่ประชุมศบค. ดังกล่าวมีความเห็น ควรดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ควบคู่กับการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 และมีความเสี่ยงสูง ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
1) เห็นชอบการปรับแผนการจัดสรรวัคซีนโควิด - 19 เดือนกรกฎาคม 2564 โดยให้ครอบคลุมผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในกรุงเทพมหานครอย่างน้อยร้อยละ 80
2) ให้ระดมสรรพกำลังการฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มเป้าหมายแรก จำนวน 1,000,000 โดส ภายใน 1 - 2 สัปดาห์
3) เห็นชอบแนวทางการจัดสรรและบริหารจัดการวัคซีนบริจาคจากต่างประเทศ
ที่มาข้อมูล เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล