18 ส.ค. 2564 กรณีที่มีการแชร์ต่อในโลกโซเชียล ถึงรายชื่อ ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ โควตาของโรงพยาบาลใน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งพบว่า ในจำนวน 144 ราย ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ มีรายชื่อของภรรยาผู้อำนวยการโรงพยาบาล ที่ทำงานอยู่ในคลินิกเอกชน และสามีของหัวหน้ากลุ่มเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเปิดร้านขายยารวมอยู่ด้วย จึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ว่าทั้ง 2 คนนี้ไม่ได้เป็น บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า เหตุใดจึงได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขจัดสรรมาให้สำหรับฉีดบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา แจ้งว่าหลังได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงถึงกรณีที่เกิดขึ้น โดยแต่งตั้ง นพ.วิชาญ คิดเห็น รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฯ ประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว และล่าสุดผลการสอบสวน ออกมาแล้วว่า
นพ.วิชาญ ประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้เปิดเผยความคืบหน้ากรณีที่เกิดขึ้นว่าและมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรียบร้อยแล้ว พบว่า มีการนำวัคซีนไฟเซอร์ไปฉีดให้กับบุคคลโดยผิดเงื่อนไขจริง ซึ่งมีอยู่ 3 ราย ได้แก่
เบื้องต้น ผู้ถูกสอบสวนชี้แจงมาว่า ได้กระทำการโดยเข้าใจว่า เป็นบุคลากรด่านหน้าเช่นกัน เพราะลักษณะงานใกล้ชิดเสี่ยงสัมผัสผู้ติดเชื้อ ซึ่งต่อจากนี้ ตนจะได้รวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริงทั้งหมด ส่งให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฯ ได้พิจารณาและวินิจฉัยข้อถูกผิด ก่อนจะตัดสินลงโทษต่อไป
นพ.วิชาญฯ ระบุว่า ตนเป็นเพียงคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่ใช่คณะกรรมการพิจารณาตัดสิน จึงไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าผลจะออกมาเช่นไร แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏชัดเจนอยู่แล้วว่า ล็อตนี้ให้จัดสรรให้กับบุคลากรด่านหน้าจริงๆ ก่อน ซึ่ง 138 รายชื่อที่แจ้งมา ตรวจสอบแล้วเป็นบุคลากรด่านหน้าของ รพ.เฉลิมพระเกียรติจริง 135 รายชื่อ ส่วนอีก 3 รายชื่อดังกล่าว ไม่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ในล็อตนี้ จึงถือว่ากระทำผิดเงื่อนที่ได้กำหนดเอาไว้