วัคซีนโควิด 2 เข็ม ชนิดเดียวกัน-ไขว้-บูสเตอร์ ภูมิคุ้มกันสู้เดลตา เเค่ไหน

19 ส.ค. 2564 | 20:00 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ส.ค. 2564 | 13:40 น.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย การตรวจภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาซึ่งระบาดในไทย ทั้งเเบบที่เป็น ชนิดเดียวกัน ฉีดไขว้ เเละฉีดบูสเตอร์

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การตรวจภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาซึ่งระบาดในไทยแล้วกว่าร้อยละ 90 ผลดังนี้

ซิโนแวค + ซิโนแวค ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา  24.28

แอสตร้า + ซิโนแวค ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 25.83

แอสตร้าฯ + แอสตร้าฯ ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 76.52

ซิโนแวค + แอสตร้าฯ ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 78.65

ซิโนแวค + ซิโนแวค  + ซิโนฟาร์ม  ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา  61.26 

ซิโนแวค + ซิโนแวค + แอสตร้าฯ ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 271.2 

ส่วนการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 3 ยังไม่มีข้อมูล เนื่องจากมีเพิ่งมีการฉีดวัคซีนไป 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ได้ทำการวิจัยวัคซีนสลับชนิด มีการศึกษาในอาสาสมัคร 125 ราย เป็นชาย 61 ราย หญิง 64 ราย อายุเฉลี่ย 40 ปี (18-60ปี)

โดยตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า Quantitative Anti-S RBD ซึ่งเป็นการวัดภูมิภาพรวมไม่ได้แยกสายพันธุ์ พบว่าการฉีดวัคซีนซิโนแวคกับซิโนแวค ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นเป็น 117 ส่วนแอสตร้าเซนเนก้ากับแอสตร้าเซนเนก้า 207

การสลับสูตรซิโนแวคกับแอสตร้าเซนเนก้า ภูมิคุ้มกันขึ้นเฉลี่ยที่ 716  ทั้งภูมิสูงขึ้นได้ตั้งแต่ 399 - 1127

ส่วนผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนไขว้ ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า มีไข้ ร้อยละ 66 ปวดศีรษะร้อยละ 33 อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ง่วงซึม ร้อยละ 28

ในช่วงถัดมาไทยมีการฉีดบูสเตอร์ให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่ได้รับแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 3 พบภูมิคุ้มกันขึ้นเช่นกัน สามารถป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้