นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมแนวทางมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในสถานประกอบการตลาด (ค้าส่งขนาดใหญ่) ร่วมประชุมกับผู้ประกอบการเจ้าของตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ จำนวน 29 แห่ง และสำนักงานเขตพื้นที่ซึ่งมีตลาดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ จำนวน 11 เขต ร่วมประชุมทางไกลผ่านโปรแกรม Zoom meeting โดยมีแผนตรวจหาแอนติเจน หรือ ATK (Antigen test kit) ในตลาดขนาดใหญ่ 29 แห่ง ทั่วกรุงเทพมหานคร พร้อมกำหนด 3 มาตรการป้องกันความเสี่ยง
ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งขนาดใหญ่คือมีแผงค้ามากกว่า 500 แผง มีจำนวน 12 แห่ง และมีตลาดที่มีพื้นที่ติดกันหลายๆ ตลาด รวมกันเป็นตลาดขนาดใหญ่ จำนวน 17 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ 11 สำนักงานเขต รวมผู้ค้าและแรงงานแผงค้าจำนวนทั้งสิ้น 18,963 คน
กรุงเทพมหานครได้กำหนดแผนการเฝ้าระวังเชิงรุกและแผนเผชิญเหตุโรคโควิด-19 ในตลาด โดยหากพบผู้ติดเชื้อ 1 ราย จะสั่งปิดเฉพาะแผงค้านั้น 14 วัน และค้นหาผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม หากพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 2 คน จะสั่งปิดแผงค้านั้น 14 วัน และให้ดำเนินการตรวจเชิงรุกผู้ค้าในตลาดทั้งหมด หากพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 10% จะสั่งปิดตลาด 14 วัน พร้อมดำเนินการสำรวจชุมชนที่พักรอบตลาด จัดทำมาตรการกักตัว Community Quarantine/Isolation และพิจารณาให้วัคซีนแก่ค้าและชุมชนโดยรอบ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากเจ้าของตลาด ผู้ประกอบ และผู้ค้าเป็นอย่างดี
กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาตรการควบคุมโรคเฉพาะสถานที่ สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งรวมถึงมาตรการสำหรับตลาด (ค้าส่ง ขนาดใหญ่)ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรการที่มีอยู่แล้ว แบ่งออกเป็น 3 มาตรการ คือ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานครยังคงมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ประกอบกับข้อมูลการสอบสวนโรคของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักอนามัยพบว่ามีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนโดยเฉพาะในสถานที่ที่ประชาชนหนาแน่น เช่น ตลาด ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินการควบคุมการระบาดมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบการระบาดในกลุ่มตลาดอีกครั้ง ซึ่งการหยุดทำการค้าจะมีผลกระทบทั้งต่อผู้ค้าและประชาชนผู้บริโภค กรุงเทพมหานครจึงขอความร่วมมือเจ้าของตลาดขนาดใหญ่ทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการที่ทางภาครัฐกำหนดอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง เพื่อควบคุมและลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ และชะลอหรือหยุดการแพร่ระบาดในตลาดให้ได้มากที่สุด