ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์การเภสัชกรรมส่งจดหมายเปิดผนึก โดยระบุว่า ตามที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ (สส.) บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ ได้กล่าวอภิปรายในสภาฯ รวมถึงได้โพสต์เฟซบุ๊ก ในประเด็น "องค์การเภสัชกรรม" เป็นผู้แทนการขายให้บริษัทผู้ผลิต "วัคซีนซีโนแวค" น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายและจริยธรรมองค์การเภสัชกรรม" และความตอนหนึ่งว่าการที่รัฐบาลยอมให้ "องค์การเภสัชกรรม" เป็นตัวแทนของบริษัทยาเอกชนจากประเทศจีน ให้บริการวัคซีนที่มีคุณภาพด้อยที่สุดเมื่อเทียบกับวัคยีนอื่น จึงไม่น่าจะชอบด้วยกฎหมายและจริยธรรม ทั้งนี้เพราะองค์การเภสัชกรรมเป็นรัฐวิสาหกิจ ตาม พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม พ.ศ. 2509 มีวัตถุประสงค์ผลิตยาและเวซภัณฑ์ที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน (มาตรา 31) หน้าที่หลัก คือ การเตรียมความพร้อมทางต้านเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ในราคาที่เป็นธรรมโดยไม่ได้มุ่งเน้นแสวงหากำไรใดๆเพื่อช่วยเหลือประชาชนในยามเกิดวิกฤติและฉุกเฉิน เงินที่นำไปซื้อวัคนเป็นภาษีประชาชนต้องนำไปซื้อสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ให้ประชาชนมีความคุ้มค่ มีการใช้จ่ายอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพองค์การเภสัชกรรมขอเรียนขี้แจงว่า "องค์การเภสัชกรรมไม่ด้ ป็นตัวแทนของบริษัทยาเอกชนจากประเทศจีน" ตามที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ได้กล่าวไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
องค์การเภสัชกรรมดำเนินการจัดหาวัคซีนซีโนแวค ตามที่กรมควบคุมโรค แจ้งความต้องการมา และเป็นไปตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม,)เห็นชอบกรอบและวงเงินในการจัดหาตามที่กระทรวงสาธารณสุขนำเสนอ ซึ่งวัคซีนซิโนแวคเป็นหนึ่งในห้าชนิดของวัคนป้องกันโรคโควิต-19 ที่ภาครัฐมีนโยบายในการจัดหาและนำเข้ามาฉีดให้กับประชาชนฟรีและเมื่อย้อนไปดูมติครม.เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 ได้เห็นชอบให้มีการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด -19 เพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมประชากรไทยในปี 2564 โดยมีวัคน Astra Zeneca เป็นวัคนหลัก และให้มีการจัดหาวัคชีนจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม โดยกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาความเร่งต่วนเพื่อให้ได้มีวัคนมาฉีในช่วงตันปี2564 จึงได้เจรจาซื้อวัคซีนชิโนแวคกับบริษัท Sinovac Life Sciences Co.Ltd. People'sRepublic of China ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเดียวที่สามารถส่งให้ประเทศไทยอย่างเร่งด่วนได้ ภายในช่วงต้นปี 2564จำนวน 2 ล้านโดส
องค์การเภสัชกรรมได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นตัวแทนภาครัฐ ในการเป็นผู้นำเข้าและยื่นขึ้นทะเบียนวัคนซีโนแวค จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยได้รับอนุมัติทะเบียนให้ใช้ในประเทศไทยได้ในภาวะฉุกเฉิน (Emergency use) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งวัคซีนชิโนแวคทั้งหมดที่องค์การฯนำเข้า ได้ส่งให้กรมควบคุมโรคจัดสรร
และกระจายให้หน่วยบริการต่างๆ ฉีดฟรีให้กับประชาชน โดยองค์การฯไม่ได้จำหน่ายโดยทั่วไป และไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่อย่างใด เนื่องจากนำเข้าวัคซีนในช่วงเวลานี้ เป็นการนำเข้าเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน ไม่ได้นำเข้าเพื่อการพาณิชย์ องค์การฯจึงไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายวัคซีนชิโนแวคล็อตแรกนำเข้ามาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 และนำเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตาม แผนการควบคุมและป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข นับถึงปัจจุบัน (วันที่ 24 สิงหาคม2564) ได้มีการนำเข้า
วัคซีนชิโนแวค แล้วจำนวน 19.5 ล้าน โดส และเมื่อรวมที่ประเทศจีนบริจาคให้อีกจำนวน 1 ล้านโดสจึงรวมเป็นทั้งสิ้น 20.5 ล้านโดส
องค์การเภสัชกรรมเป็นรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. 2509 คือ ผลิตยาและเวชภัณฑ์ ส่งเสริมให้มีการศึกษาและวิจัย การผลิต การวิเคราะห์ ยาและเวชภัณ วัตถุดิบ ดำเนินการซื้อ ขายแลกเปลี่ยนและให้ซึ่งยาและเวชภัณฑ์ ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตยาและเวชภัณฑ์ นอกจากนั้นองค์การเภสัชกรรมดำเนินงานภายใต้ วิสัยทัศน์ "เป็นองค์กรหลักเพื่อความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์ของประเทศที่มีนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าและยั่งยืน" และได้ปฏิบัติภารกิจให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เน้นย้ำในการทำหน้าที่เชิงสังคมให้มากยิ่งขึ้นในเรื่องผลิต จำหน่ายและบริการยาและเวชภัณฑ์ ที่มีคุณภาพมาตรฐานสากลผลิตยาที่จำเป็นและสำรองยาในยามฉุกเฉิน เพื่อความมั่นคงของชาติรวมถึงยาที่มีความจำเป็นต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ ดำเนินธุรกิจให้มีศักยภาพในการแข่งขันในอาเชียนและสามารถพึ่งตนเองได้และมีธรรมาภิบาล รักษาระดับราคายาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อสังคมไทยเพื่อประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมทางยาและเวชภัณฑ์ใหม่ๆรวมถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นต่อสังคมไทย
"องค์การเภสัชกรรมของเรายึดมั่น มุ่งเน้น ดำเนินภารกิจเชิงสังคม เพื่อสร้างการเข้าถึงยา วัคซีนและเวชภัณฑ์ ให้แก่ระบบสาธารณสุขไทย ทั้งในยามปกติ และภาวะวิกฤติ ภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้ประเทศมีความเข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืน"