เป็นเรื่อง ผอ.อภ. ยื่น ป.ป.ช.สอบ“หมอเกรียงศักดิ์-หมออารักษ์”

31 ส.ค. 2564 | 08:01 น.
อัปเดตล่าสุด :31 ส.ค. 2564 | 16:22 น.

ผอ.องค์การเภสัชกรรม ร้อง ป.ป.ช. สอบพฤติกรรม “เกรียงศักดิ์-อารักษ์” กรณีล็อกสเป๊ก-กีดกันการประมูลATK 8.5 ล้านชุด และมีพฤติกรรมข่มขู่

นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม ได้ยื่นคำร้องสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ขอร้องเรียนพฤติกรรมของ นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายชมรมแพทย์ชนบท และ นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล ในฐานะคณะทํางานกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทําผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน ของรัฐ พ.ศ. 2542 กรณีการจัดหาชุดตรวจสําหรับ COVID-19 ประเภท Antigen Test Kits จํานวน 8,500,000 ชุด

 

โดยระบุว่า นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ มีความพยายามที่จะเอื้อ ประโยชน์ให้กับบริษัท เอ็มพีกรุ๊ป (Standard Q) โดยให้ข่าวบิดเบือนโจมตีว่าองค์การเภสัชกรรม ลด spec ในการจัดหา และด้อยค่าผลิตภัณฑ์ Lepu ที่ประมูลได้ อย่างต่อเนื่อง และยังข่มขู่ผู้อํานวยการ นายวิฑูรย์ หวังไม่ให้มีการเซ็นสัญญาซื้อ Lepu 

ทั้งนี้องค์การเภสัชกรรมไม่ยอมเป็นเครื่องมือให้ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ในการล็อก spec ทําให้ไม่มีความเสียหายเป็นตัวเงินงบประมาณในการจัดซื้อก็จริง แต่มีความเสียหายในเรื่องความล่าช้าเป็นอย่างมาก หากในวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ไม่เข้ามาข่มขู่กรรมการเปิดซอง ไม่มาเพิ่มเติม spec ในส่วน ที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท เอ็มพีกรุ๊ป (Standard Q) การเปิดซองก็ไม่ต้องถูกเลื่อน ประเทศไทยก็จะได้รับชุดตรวจ ATK ครบ 85 ล้านชุด ในสิ้นเดือนสิงหาคม 2564 ไม่ใช่เพิ่งลงนาม ในสัญญาเหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ทําให้ประชาชนเสียโอกาสในการแยกตัวผู้ป่วยออกจากผู้ไม่ติดเชื้อ มีผู้เจ็บป่วยล้มตายมากขึ้น


นายแพทย์วิฑูรย์ ยังได้ตั้งข้อสังเกตุถึงพิรุธหลายประการของ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูล เกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ที่กระทําผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอ ราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 อาทิ  นายเกรียงศักดิ์ เสนอเปลี่ยน spec ที่เลขาธิการ สปสช.แจ้ง รพ.ราชวิถี ไปว่า ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือได้รับการรับรองมาตรฐานจาก WHO

เปลี่ยนมาเป็นต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและ ยาและได้รับการรับรองมาตรฐานจาก WHO เมื่อประกอบกับราคา 120 บาท (บริษัท เอ็มพีกรุ๊ป เสนอ 120 บาท บริษัท Abbott เสนอ 140 บาท) จึงเป็นการล็อก spec ให้ บริษัท เอ็มพีกรุ๊ป (Standard Q) เข้ามา ได้บริษัทเดียวเท่านั้น (ในขณะนั้น บริษัท เอ็มพีกรุ๊ป ยังยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์ของตน ผ่านการรับรองมาตรฐาน จาก WHO ยังไม่มีใครทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองเป็นคนละรายการกัน) และยังกําหนดให้มีการจัดส่งถึง 5 ล้านชุดภายใน 3 วันหลังทําสัญญา ก็เป็นการล็อก spec เช่นกัน 

 

 เมื่อเปรียบเทียบมาตรฐานของ WHO และ อย.พบว่า มาตรฐาน อย.สูงกว่า WHO โดย WHO กําหนด sensitivity มากกว่าหรือเท่ากับ 80% ในขณะที่ อย.กําหนด 90% และ WHO กําหนด specifictity มากกว่าหรือเท่ากับ 97% ในขณะที่ อย.กําหนด 99% จึงเห็นข้อพิรุธอย่างชัดเจน ว่า การที่เพิ่มมาตรฐาน WHO เข้าไป ไม่ได้ทําให้ได้ของที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น แต่เป็นการกีดกันผู้ประกอบการ รายอื่นที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน WHO ล็อก spec ให้กับบริษัทเอ็มพีกรุ๊ป (Standard Q)

 

ในขณะที่ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ จึงได้โทรศัพท์หานายวิฑูรย์และข่มขู่ว่า “ถ้าเอาของจีนเข้ามาผมโวยวายแน่” และยังชี้เป้าว่า มี 2 เจ้า คือ Abbott และ Standard 2 ทั้งๆ ที่ใน spec ตัดมาตรฐาน WHO ออกแล้ว แสดงว่าบริษัทที่ขึ้นทะเบียน อย.จํานวน 20 กว่าราย จะเข้าได้หมด แต่ก็ยังระบุชื่อเพียง Abbott และ Standard Q

 

อย่างไรก็ตามในการ ประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ได้สั่งการนายจเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. ในที่ประชุม ให้ใช้วิธีประมูล ไม่ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง เพราะมีชุดตรวจ ATK ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ อย.แล้ว ประมาณ 30 รายการ และมีบริษัทมายื่นเอกสารเสนอราคา 19 ราย คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติผ่านตามข้อกําหนด 16 ราย บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนซ์ (ประเทศไทย) จํากัด (ได้รับมอบอํานาจให้เป็นผู้แทนจําหน่ายจากบริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จํากัด) เสนอราคาต่ําที่สุด 65 บาท (ไม่รวม VAT) จึงเป็นผู้ชนะ องค์การเภสัชกรรมเสนอคณะกรรมการ องค์การเภสัชกรรมให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 และ 16 สิงหาคม 2564

 

นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ยังมีความพยายามที่จะเอื้อ ประโยชน์ให้กับบริษัท เอ็มพีกรุ๊ป (Standard Q) โดยให้ข่าวบิดเบือนโจมตีว่าองค์การเภสัชกรรม ลด spec ในการจัดหา และด้อยค่าผลิตภัณฑ์ Lepu ที่ประมูลได้ อย่างต่อเนื่อง และยังข่มขู่ผู้อํานวยการ นายวิฑูรย์ หวังไม่ให้มีการเซ็นสัญญาซื้อ Lepu 

 

จากข้อเท็จจริงทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นข้อพิรุธหลายประการของ นายเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูล เกียรติ และ นายอารักษ์ วงศ์วรชาติ ที่กระทําผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอ ราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542