กมธ.การพลังงาน ชูการมีส่วนร่วมชุมชน สร้างความยั่งยืน “แม่เมาะ”

13 ก.ย. 2564 | 05:33 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ก.ย. 2564 | 12:50 น.

กมธ.การพลังงาน เยี่ยม กฟผ. แม่เมาะ ชูการมีส่วนร่วมชุมชน สร้างความยั่งยืนชาวแม่เมาะ ทั้งเมืองน่าอยู่ Smart Environment และ Smart Energy ลดปัญหาหมอกควัน

 

รายงานข่าวเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานกรรมาธิการการพลังงาน(กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร และคณะ ได้เดินทางศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง  โดยมีคณะผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ให้การต้อนรับ และบรรยายสรุป ประกอบด้วย นายอดิศักดิ์ กิจเจริญธนารักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2,นายมาโนช ชูชาติวรรณกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ, นายประจวบ ดอนคำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและบริหารเหมืองแม่เมาะ,นายธานี โพธิ์เอี้ยง ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิตเหมืองแม่เมาะ นายอรรถพล อิ่มหนำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้า 1 และนายประเสริฐ พนมเกียรติศักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการผลิตโรงไฟฟ้า 2 พร้อมพาเยี่ยมชมพื้นที่เหมืองแม่เมาะ

 

กมธ.การพลังงาน ชูการมีส่วนร่วมชุมชน สร้างความยั่งยืน “แม่เมาะ”

 

ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าแม่เมาะมีกำลังการผลิตรวม 2,455 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะเป็นเชื้อเพลิงร้อยละ 8.63 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าหลักเพื่อความมั่นคงระบบไฟฟ้าภาคเหนือ โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นโรงไฟฟ้าที่ได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคมหลายประการ เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การส่งเสริมอาชีพประชาชนในพื้นที่ การสนับสนุนงบประมาณในการสร้างอาชีพ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน การจ้างแรงงานในพื้นที่  โครงการศึกษาเรียนรู้ชุมชน หน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่ การสนับสนุนด้านสาธารณูปโภค เช่น ปรับปรุงถนน วางท่อประปา ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นต้น การปลูกป่า ฝายชะลอน้ำ เป็นต้น

 

​นอกจากนี้ยังมีการดำเนินโครงการที่สำคัญเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ​1.โครงการเมืองแม่เมาะน่าอยู่ ซึ่งโครงการนี้มีการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงานอัจฉริยะ และด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ โครงการเมืองแม่เมาะน่าอยู่ได้ผ่านการคัดเลือกให้เป็น 1ใน 5 เมืองอัจฉริยะที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ โดยมีเป้าหมายในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่และพัฒนาชุมชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนหลังจากการปิดเหมือง

 

กมธ.การพลังงาน ชูการมีส่วนร่วมชุมชน สร้างความยั่งยืน “แม่เมาะ”

 

2.โครงการภายใต้แผน Smart Environment มีโครงการย่อย เช่น โครงการส่งเสริมให้เกิดป่าในชุมชน โครงการส่งเสริมอาชีพด้วยกระบวนการนวัตกรรม โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้จะช่วยลดหมอกควันและไฟป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพิ่มรายได้ชุมชนจากการจ้างงานและการท่องเที่ยว

 

กมธ.การพลังงาน ชูการมีส่วนร่วมชุมชน สร้างความยั่งยืน “แม่เมาะ”

 

3. โครงการภายใต้แผน Smart Energy มีโครงการย่อย เช่น โครงการสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการพลังงานสู่ชุมชน โรงการรับซื้อเศษวัชพืชมาเผาในโรงไฟฟ้า โครงการโซลาร์ฟาร์ม กำลังผลิต 50 เมกะวัตต์ เป็นต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ลดปัญหาไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ ลดปัญหาหมอกควันจากการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของชุมชน