วานนี้ (16 ก.ย. 64)สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เริ่มแจกชุดตรวจ Antigen Test Kit หรือ ATK ให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงฟรี 8.5 ล้านชิ้น
เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจโควิดด้วยตนเอง โดยแจกคนละ 2 ชุด ห่างกัน 5 วัน ซึ่งล็อต แรกในพื้นที่เสี่ยงก่อน ได้แก่ กทม. - ปริมณฑล
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า วันแรกของการเริ่มแจกชุดตรวจ ATK จำนวน 8.5 ล้านชุด ซึ่งได้วางแผนกระจาย โดยเน้นผ่านหน่วยบริการต่างๆ
ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. โดยให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน หรือองค์กรภาคประชาชนจัดส่งให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ กทม.
หรือเมืองใหญ่ๆ อาจมีบางพื้นที่ที่ไม่มีผู้นำชุมชน ไม่มีอาสาสมัครสาธารณสุขรับผิดชอบ จึงมีการเพิ่มช่องทางแก่ประชาชนให้สามารถรับ ATK ที่คลินิกชุมชนอบอุ่น หรือร้านยา ที่เข้าร่วมโครงการด้วย
โดยขอรับผ่านแอปฯ "เป๋าตัง" ที่เมนู ชุดตรวจ ATK ฟรี หลังจากทำแบบประเมินความเสี่ยง หากผลพบว่าเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยง ก็ค้นหาหน่วยบริการ พร้อมกับโทรไปล่วงหน้าเพื่อติดต่อขอรับได้เลย
ตรวจโควิดด้วย ATK เกิดผลบวกปลอม – ผลลบปลอม จากปัจจัยอะไร
ผลบวกปลอม
ไม่ติดเชื้อ ไม่มีเชื้อไวรัสตัวนี้ แต่ให้ผลออกมาเป็นบวก ซึ่งอาจเกิด
1.จากการปนเปื้อนจากพื้นที่ทำการทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้
2.การติดเชื้อไวรัสหรือจุลชีพอื่นๆ
3.ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น อ่านผลเกินเวลากำหนด
4.สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม
ผลลบปลอม
กรณีนี้สำคัญมากเพราะนั้นหมายถึง เป็น ผู้ติดเชื้อ แต่ให้ผลการทดสอบเป็น ลบ ซึ่งกรณีนี้มีปัจจัย คือ
1.เพิ่งติดเชื้อในระยะแรกมีปริมาณไวรัสต่ำ
2.การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง
3.ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด ปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด
ส่วนกรณีที่บางคนตรวจวิธี RT-PCR ครั้งแรกเป็นบวก แล้วเมื่อตรวจครั้งถัดมาอาจเป็นลบ ก็มีความเป็นไปได้ เนื่องจากช่วงที่ไปตรวจครั้งแรกที่เป็นบวก อาจเป็นระยะท้ายของการติดเชื้อแล้ว ก็มีความเป็นไปได้ที่เมื่อตรวจซ้ำผลจะออกมาเป็นลบ
เมื่อไหร่ที่ควรตรวจ ATK
วิธีใช้ชุดตรวจ ATK
ในชุดตรวจจะมีตลับทดสอบ หลอดใส่น้ำยา ฝาหลอดหยด ไม้ swab เอกสารกำกับชุดตรวจ มีวิธีใช้ดังนี้
สังเกตตรงแถบ T และ C
- หากมีเส้นปรากฏทั้งสองแถบ คือผลเป็นบวก (ติดเชื้อ)
- หากมีเส้นปรากฏที่แถบ C อย่างเดียว คือผลเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ)
- หากไม่มีเส้นปรากฏที่แถบ C และ/หรือ ไม่ปรากฏแถบเส้นใดๆ เลย อาจเกิดการผิดพลาดระหว่างการทดสอบ ผลการตรวจใช้ไม่ได้
อย่าลืมนำอุปกรณ์ที่ใช้ปแล้วทั้งหมดไปทิ้งโดยแยกใส่ถุงปิดให้มิดชิด
หากมีผลเป็นบวก (ติดเชื้อ) อาจต้องรายงานผล โดยการถ่ายรูปผลการทดสอบ พร้อมระบุตัวตนและวันที่ทดสอบ รายงานผลกับหน่วยบริการสุขภาพ และอาจมีการตรวจด้วยวิธี RT-PCR เพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง
คำแนะนำจากแพทย์
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโควิดและมีอาการเล็กน้อย หากผลตรวจไม่พบเชื้อ ให้ตรวจซ้ำ 3-5 วันถัดมา ระหว่างนี้ให้แยกกักตัว
หากมีอาการรุนแรง ควรไปสถานพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธีมาตรฐานซ้ำอีกครั้ง