จากกรณี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แจกชุดตรวจ ATK ฟรี กระจาย 8.5 ล้านชิ้น ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษา (สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ)
ตรวจโควิดด้วยตนเอง เพื่อป้องกันควบคุมโรค รู้เร็ว รักษาเร็ว ลดการระบาดโควิด-19 แจกคนละ 2 ชุด ห่างกัน 5 วัน ดีเดย์ 16 ก.ย.2564 ที่ผ่านมา
วันนี้ฐานเศรษฐกิจจะพามาดูวิธีการใช้งานและการอ่านผลชุดตรวจโควิด ATK ต้องทำอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดย ATK ด้วยตัวเอง
1.ควรอ่านวิธีการใช้หรือคำแนะนำ ATK ให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนทุกครั้ง โดยการใช้งานเบื้องต้นมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
2.เคลียร์จมูก สั่งน้ำมูก (ถ้ามี) ก่อนทำการ Swab
3.ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล
4.ใช้ไม้ SWAB ที่มาพร้อมชุดตรวจ เก็บสารคัดหลั่งจากโพรงจมูก เงยหน้าขึ้นนิดหนึ่ง จากนั้นแยงเข้าไปในโพรงจมูกช้า ๆ แยงเข้าไปลึกประมาณ 2- 2.5 ซม. หรือ 1 นิ้ว หมุนเบา ๆ 5 รอบ
5.แยงจมูกอีกข้าง โดยทำเหมือนข้างแรก หมุนเบา ๆ 5 รอบ
6.เมื่อเก็บสารคัดหลั่งเสร็จแล้ว นำไม้ SWAB ลงไปเก็บในหลอดที่มีน้ำยาสกัดหรือน้ำยา Test จากนั้นหมุนไม้ SWAB 5 ครั้ง เพื่อให้สารคัดหลั่งสัมผัสกับน้ำยามากที่สุด จากนั้นนำไม้ SWAB ออกและปิดด้วยจุกฝาหลอดหยด
7.ตลับทดลองจะมีหลุม เพื่อให้สามารถหยอดน้ำยาได้ โดยให้หยอดน้ำยาลงในตลับทดสอบตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด (ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อชุดตรวจ) และเมื่อหยอดเสร็จแล้วน้ำยาจะไหลไปตามแผ่นกรองที่อยู่ด้านใต้
8.รออ่านผล ประมาณ 15-30 นาที (ห้ามอ่านผลก่อนหรือหลังเวลาที่กำหนด)
9.แนะนำให้ทำการทดสอบ RT-PCR ซ้ำ เพื่อยืนยันผลอีกที เนื่องจากชุดตรวจ Antigen Test Kit เป็นการคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น และควรดำเนินการติดต่อหน่วยงานบริการใกล้บ้าน เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือสถานพยาบาล เป็นต้น เพื่อทำการประเมินอาการและดำเนินการรักษาในขั้นต่อไป
วิธีการอ่านผลตรวจและแปรผลทดสอบ
ผลบวก ติดเชื้อโควิด
ผลลบ ไม่ติดเชื้อโควิด
ผลที่ใช้งานไม่ได้
ไม่ปรากฏแถบอะไรเลย ชุดตรวจอาจมีปัญหา แนะนำให้ทำการทดสอบซ้ำอีก
กรณีผลการทดสอบเป็นบวก
แนะนำให้ทำการทดสอบ RT-PCR ซ้ำ เพื่อยืนยันผลอีกที เนื่องจากชุดตรวจ ATK เป็นการคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น และควรดำเนินการติดต่อหน่วยงานบริการใกล้บ้าน เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือสถานพยาบาล เป็นต้น เพื่อทำการประเมินอาการและดำเนินการรักษาในขั้นต่อไป
กรณีผลการทดสอบเป็นลบ
กรณีที่ผลตรวจแสดงออกมาเป็นลบ ไม่ได้หมายความว่าไม่ติดเชื้อเสมอไป โดยผู้ตรวจควรประเมินความเสี่ยงของตัวเองว่าอยู่ในกลุ่มที่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงไหม เพราะเชื้อจะมีระยะฟักตัวยาวถึง 14 วัน เพื่อความแน่ใจควรทำการแยกกักตัวและตรวจหาเชื้ออีกครั้งภายหลังจากวันทดสอบวันแรกประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าช่วงระหว่างกักตัว มีอาการผิดปกติ เช่น ไข้ขึ้นสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส เจ็บคอ ไอ ก็สามารถตรวจซ้ำได้อีกครั้งเลยทันที