วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า+วัคซีนไฟเซอร์ จะเป็นวัคซีนไขว้สูตรใหม่ โดยคาดว่าจะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคมนี้ เพราะจะมีการนำเข้าวัคซีนไฟเซอร์ประมาณเดือนละ 10 ล้านโดสจนถึงสิ้นปี
สำหรับวัคซีนไขว้สูตรแอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์ องค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่าน ไฟเขียวสูตรฉีดวัคซีนแบบผสม เข็มแรกเป็นแอสตร้าฯ ส่วนเข็ม 2 เป็นวัคซีน mRNA โดยรับรองให้ใช้เฉพาะกรณีวัคซีนมีอย่างจำกัด
และยังมีผลการวิจัยในต่างประเทศรองรับ และต่างประเทศให้การยอมรับ แต่ยังต้องมีการติดตามประสิทธิผลของวัคซีน
ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อัพเดตผลการศึกษาการฉีดวัคซีนไขว้ เทียบการฉีดด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน ผ่านเพจเฟซบุ๊ก Siriraj Institute of Clinical Research
จากผลการศึกษาวิจัยโดยศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สรุปได้ว่า
1.การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าแล้วตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ได้ระดับภูมิคุ้มกันสูงสุด 2,259.9 หน่วยต่อมิลลิลิตร
2.การฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้วตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ได้ระดับภูมิคุ้มกันดีรองลงมาที่ 2,181.8 หน่วยต่อมิลลิลิตร
3.การฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้วตามด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ได้ระดับภูมิคุ้มกัน 1,049.7 หน่วยต่อมิลลิลิตร
การใช้วัคซีนซิโนแวคเป็นเข็มแรก แล้วตามด้วยแอสตร้าหรือไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็มแรกควรตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2
การวัดเป็นผล anti-RBD IgG วัดโดยเครื่อง Abbott และรายงานเป็นหน่วยมาตรฐาน BAU/mL ส่วนผลการวัดแบบ PRNT50 จะมีการรายงานต่อไปค่ะ
นอกจากนี้ผลการศึกษายังไม่มีปัญหาเรื่องอาการข้างเคียงหลังฉีดเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สองในระยะเวลาห่างกันประมาณ 4 สัปดาห์
ควรมีการศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดเพื่อยืนยันภูมิคุ้มกันจากการศึกษานี้
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบสูตรการฉีดวัคซีนโควิดในประเทศไทยตามคำแนะนำมีทั้งหมด 3 สูตร ดังนี้