จากอิทธิพลร่องมรสุม-พายุเตี้ยนหมู่ ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดพิจิตร ชัยภูมิ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา สุโขทัย ชัยนาท นครสวรรค์ สิงห์บุรี ขอนแก่น ลำปาง ลำพูน และอุบลราชธานี โดยบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย
จากสถานการณ์น้ำท่วม 2564 ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้สถาบันการเงินได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้ออกมาตรการเยียวยา ช่วยเหลือลูกค้าที่เกิดผลกระทบ ได้รับความเสียหาย โดยแต่ละแบงค์จะมีมาตรการช่วยเหลืออะไรบ้างนั้น "ฐานเศรษฐกิจ"รวบรวมมานำเสนอดังต่อไปนี้
ธนาคารออมสิน
3 มาตรการสินเชื่อช่วยเหลือน้ำท่วมจากพายุเตี้ยนหมู่ "วงเงินกู้ฉุกเฉิน"
1.สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
- วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ย 0% ในปีแรก
- อัตราดอกเบี้ยปีที่ 2-5 =0.85% ต่อเดือน
- ปลอดชำระคืนเงิน 3 เดือนแรก
- ระยะเวลาผ่อนชำระ 3 - 5 ปี
- กรณียื่นขอสินเชื่อภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันประสบภัยพิบัติได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการขอสินเชื่อ
2.สินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ
- วงเงินกู้ไม่เกินรายละ 1,000,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ย 0% ในปีแรก
- อัตราดอกเบี้ยปีที่ 2-3 = 3.00% ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ยปีที่ 4 = MRR 0.75 % ต่อปี
- ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี
3.สินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน SMEs ที่ประสบภัยพิบัติ
- วงเงินกู้สูงสุด 10% ของวงเงินกู้เดิมแต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท
- อัตราดอกเบี้ยปีแรก 3.50%
- อัตราดอกเบี้ยปีที่ 2 เป็นต้นไป = MLR ต่อปี
- ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี
- ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 5 ปี
ช่องทางการขอรับสินเชื่อ
- สาขาธนาคารออมสินในพื้นที่
- GSB Contact Center โทร.1115
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
7 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติปี 2564 พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ให้กู้ซ่อม/สร้าง และจ่ายสินไหม
- มาตรการที่ 1 : ลดดอกเบี้ยเหลือ 0% ต่อปี นาน 4 เดือนแรก
- มาตรการที่ 2 : ให้กู้เพิ่มหรือกู้ใหม่อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี คงที่ 1 ปีแรก
- มาตรการที่ 3 : ประนอมหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน และคิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี 4 เดือน ไม่ต้องชำระเงินงวด
- มาตรการที่ 4 : ประนอมหนี้ไม่เกิน 1 ปี คิดอัตราดอกเบี้ย 1.00% ต่อปี
- มาตรการที่ 5 : กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรให้ผ่อนชำระดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี
- มาตรการที่ 6 : ที่อยู่อาศัยเสียหายทั้งหลังซ่อมแซมไม่ได้ ให้ปลอดหนี้ในส่วนของอาคาร
- มาตรการที่ 7 : พิจารณาสินไหมเร่งด่วน (Fast Track) สำหรับลูกค้าที่ทำกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยจ่ายตามความเสียหายจริงรวมทุกภัยธรรมชาติ ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปีและกรณีกรมธรรม์เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่ 1 พ.ย. 2562เพิ่มความคุ้มครองภัยธรรมชาติตามความเสียหายจริงแต่ไม่เกินภัยละ 30,000 บาทต่อปี
ช่องทางการขอรับสินเชื่อ
- ลูกค้าที่ประสงค์ขอรับบริการของ “โครงการเงินกู้ที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติปี 2564” ตามมาตรการที่ 1-6 สามารถติดต่อได้ที่สาขาของ ธอส. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2564
- ส่วนมาตรการที่ 7 ติดต่อได้ที่สาขาของ ธอส. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000
- หรือ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- สามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน อันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมได้ที่ ไอแบงก์ สาขาที่ได้ใช้บริการ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
- สอบถามรายละเอียดได้ที่ ibank call center 1302