โควิดชลบุรี ติดเชื้อรายใหม่ 382 ราย "ศรีราชา-เมืองชล"ร่วม 161ราย

29 ต.ค. 2564 | 00:42 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ต.ค. 2564 | 07:42 น.

โควิดชลบุรี วันนี้ (29 ต.ค.) ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 382 ราย เฉพาะคลัสเตอร์เขทหารเรือ สัตหีบ 14 ราย ยอดสะสม 1,359 ราย พื้นที่อำเภอศรีราชา-เมืองชลบุรี" ยังมีผู้ติดเชื้อมากสุด

29 ต.ค.64 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประจำวัน วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 382 ราย ยอดป่วยสะสม 100,540 ราย ยังรักษาสะสม 5,761 ราย ยอดรักษาหายสะสม 94,070 ราย เสียชีวิต 1 ราย เสียชีวิตสะสม 709 ราย

ยอดติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่วันนี้  อยู่ในพื้นที่

  • อำเภอศรีราชา 90 ราย ยอดสะสม 25,288 ราย
  • อำเภอเมืองชลบุรี 71 ราย ยอดสะสม 23,408 ราย  
  • อำเภอบางละมุง 48 ราย ยอดสะสม 18,516 ราย
  • อำเภอสัตหีบ 34 ราย ยอดสะสม 4,832 ราย 

 

รายละเอียดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่

 

1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 45 ราย สะสม 4,417 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,738 ราย
2. Cluster เขตพื้นที่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ 14 ราย สะสม 1,359 ราย
    2.1 ทหารเกณฑ์ 9 ราย
    2.2 ข้าราชการทหารเรือ 5 ราย
3. Cluster แคมป์ก่อสร้าง บริษัท ไร่โกทอง คอนสตรัคชั่น แอนด์เซอร์วิส จำกัด อำเภอศรีราชา 4 ราย สะสม 36 ราย
4. Cluster บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด อำเภอศรีราชา 4 ราย สะสม 12 ราย
5. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 12 ราย

6. บุคลากรทางการแพทย์ 1 ราย
7. ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด 
    7.1 จังหวัดระยอง 17 ราย
    7.2 จังหวัดอุดรธานี 3 ราย
    7.3 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2 ราย
8. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
    8.1 ในครอบครัว 122 ราย
    8.2 จากสถานที่ทำงาน 59 ราย
    8.3 บุคคลใกล้ชิด 8 ราย
    8.4 ร่วมวงสังสรรค์ 2 ราย
9. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 26 ราย 
10. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 63 ราย
 

โควิดชลบุรี ติดเชื้อรายใหม่ 382 ราย  \"ศรีราชา-เมืองชล\"ร่วม 161ราย

รายละเอียดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19

ขณะนี้ยังคงมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว และเป็นผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน 

โดยผู้เสียชีวิตรายใหม่ 1 รายของวันนี้ เพศหญิง (อายุ 66 ปี) เป็นผู้สัมผัสในครอบครัวของผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีอัตราป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 มากกว่ากลุ่มอื่น