ฉีดวัคซีนสูตรไขว้กระหึ่ม WHO ใช้ข้อมูลจากไทยเผยแพร่ทั่วโลก

18 ธ.ค. 2564 | 00:35 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ธ.ค. 2564 | 07:35 น.

ฉีดวัคซีนสูตรไขว้กระหึ่ม องค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมใช้ข้อมูลจากไทยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงเผยแพร่ทั่วโลก

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ยง  ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) โดยมีข้อความว่า 
โควิด-19 วัคซีน องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำในการฉีดวัคซีน “สูตรไขว้” 
องค์การอนามัยโลก ได้ลงพิมพ์ Interim recommendations for heterologous COVID-19 vaccine schedules ใน Interim guidance วันที่ 16 December 2021
ที่ผ่านมาในคนไทยด้วยกันเอง มีการโต้แย้งกันมาก 
ทั้งที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นที่แน่ชัด และกำลังลงพิมพ์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า อีกหลายบทความ 

คณะกรรมการพิจารณางานวิจัย ให้แก้ไขบทความน้อยมาก และเชื่อว่าจะได้ลงพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียง ตามมาอย่างต่อเนื่อง โดยทีมวิจัยของเราได้ทำวิจัยอย่างได้มาตรฐาน
จะเห็นว่าองค์การอนามัยโลกได้ออกคำแนะนำ ในการใช้วัคซีน “สูตรไขว้” ของไทย  โดยใช้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเอกสารอ้างอิง

WHO ให้คำแนะนำในการฉีดวัคซีนสูตรไขว้
และข้อมูลที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่ใช้วัคซีนเชื้อตาย สลับกับ  virus Vector  หรือ mRNA เพื่อใช้เป็นแนวทาง ให้แต่ละประเทศปรับความเหมาะสมในการให้วัคซีน ตามสภาวะของวัคซีนที่มีอยู่ในประเทศนั้นๆ อยากอยู่ในภาวะฉุกเฉิน 
นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงการใช้วัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม สลับด้วยการกระตุ้นด้วย ไวรัส Vector หรือ mRNA อย่างที่เราใช้กันในประเทศไทย 
กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกัน โรคโควิด-19แล้ว ที่ใช้สูตรสลับ SV-AZ ประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ AZ-AZ 

หลักฐานการศึกษาวิจัย องค์การอนามัยโลกได้เอาไปใช้อ้างอิง และมีการเผยแพร่ไปทั่วโลก จะเห็นว่ามีข้อมูลการศึกษาออกจากประเทศไทย โดยเฉพาะในทีมที่เราทำการศึกษากันมาอย่างต่อเนื่อง
ทุกอย่างเกิดขึ้นในภาวะฉุกเฉิน เพราะระยะเวลเราทำวิจัยอย่างเร่งด่วน ขณะนี้ก็เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำ ในการใช้วัคซีนแบบสูตรสลับ
สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทยนั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีการฉีดแล้วทั้งหมด 98,440,117 โดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 จำนวน 50,204,276 ราย  เข็มที่ 2 จำนวน 43,811,828 ราย และเข็มที่ 3 จำนวน4,424,313 ราย