ปี 2564 การระบาดของ โควิด19 ยังเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สร้างทั้งผลกระทบมหาศาลให้กับผู้คนทั้งโลก อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่แค่ “วิกฤต” แต่ยังเป็น “โอกาส” สำหรับหลายคน รวมถึงโอกาสสำหรับการทลายกรอบคิดในการพัฒนา “นวัตกรรม” ที่ต้อง “รวดเร็วและทันต่อความต้องการใช้”
โดยเฉพาะนวัตกรรมที่ “แก้ปัญหาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิต” ของผู้คน และยัง “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” นับว่าเป็นเมกะเทรนด์ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น ทั้งนี้ SCG ผู้นำด้านนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ รวบรวม 10 ไฮไลท์นวัตกรรมรักษ์โลก แห่งปี 2564 ที่มองว่าช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คน ในยามที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตโควิด19ดังนี้ ...
เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด19 ในสถานการณ์ที่สังคมต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนเตียงจากจำนวนผู้ป่วยโควิด19 ที่เพิ่มขึ้น
“เตียงสนามกระดาษ SCGP” ที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล 100% นับเป็นตัวช่วยสำคัญที่สามารถขนส่งไปยังพื้นที่ต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด 19 ได้อย่างทันท่วงที น้ำหนักเบา ประหยัดพื้นที่ขนส่งและการจัดเก็บ ประกอบง่าย และรับน้ำหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม
“ห้องไอซียูโมดูลาร์” สำหรับแยกผู้ป่วยโควิด19 ออกจากผู้ป่วยทั่วไป และช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วย ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจยิ่งขึ้น ซึ่ง SCG พัฒนาร่วมกับโรงพยาบาลราชวิถี สร้างเสร็จรวดเร็วใน 1 สัปดาห์ หากเปรียบเทียบกับการปรับปรุงไอซียูแบบทั่วไป อาจต้องใช้เวลากว่า 3 เดือน
“แคปซูลความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ” ช่วยแก้ข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด 19 ด้วยแคปซูลที่มีขนาดกะทัดรัด เหมาะกับการบรรทุกในเครื่องบินขนาดเล็ก ใช้พลาสติก PVC ที่มีความทนทานสูง แต่น้ำหนักเบา พร้อมมีระบบควบคุมความดันลบที่ช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ และอากาศภายในแคปซูลจะถูกดูดออกผ่านเครื่องกรองเชื้อที่มีประสิทธิภาพถึง 99.95%
สำหรับผู้ที่ต้องสัมผัสเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งที่อาจมีเชื้อโควิด19 เช่น ผู้ปฏิบัติงานที่โรงซักผ้าในโรงพยาบาล และบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาล เป็นอีกกลุ่มคนหนึ่งที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในสถานการณ์โควิด19
เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยให้ไม่ต้องสัมผัสกับผ้าติดเชื้อโดยตรง เพียงนำถุงซักผ้าละลายน้ำซึ่งเป็นพลาสติกพิเศษที่ผลิตจากพอลิไวนิลแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ มีคุณสมบัติละลายน้ำที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียสขึ้นไป เข้าเครื่องซักผ้า ถุงซักผ้าจะสามารถละลายในน้ำได้ภายใน 2-3 นาที ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ และช่วยลดขั้นตอนการซักล้าง
“อยู่สบายอย่างปลอดภัย” ด้วยนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุค NOW Normal
นอกจากนี้ เพื่อทำให้ผู้คนใช้ชีวิตปลอดภัยและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นท่ามกลางปัญหาโรคระบาด SCG ได้พัฒนานวัตกรรม 3.) หน้ากาก Respirator “CUre AIR SURE” ที่ออกแบบและผลิตโครงสร้างหน้ากาก โดยนำความเชี่ยวชาญด้านการดีไซน์และผลิตวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์มาต่อยอด เพื่อให้ได้หน้ากากมีประสิทธิภาพ ช่วยกรองเชื้อแบคทีเรียและอนุภาคขนาดเล็กได้ถึง 99% อีกทั้งสามารถเปลี่ยนแผ่นกรองได้ ช่วยลดปริมาณขยะหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ในขณะเดียวกัน ที่เราต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่นควันซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของคนเมือง
บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยคงความสดของผักผลไม้ให้นานขึ้น ช่วยลดการเน่าเสีย และข้อจำกัดทางการขนส่ง ด้วยเทคโนโลยีของฟิล์มที่ช่วยควบคุมการผ่านเข้าออกของก๊าซและไอน้ำ ก็เหมาะสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่นิยมสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น
นวัตกรรมสีเขียว รักษ์โลก “ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก-ลดขยะ”
ในขณะเดียวกัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมยังเป็นอีกหนึ่งวิกฤตที่คนทั้งโลกกำลังเผชิญ แต่ทุกภาคส่วนต่างก็ตื่นตัวกับการแก้ปัญหา SCG ได้คิดค้นและพัฒนา “นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ด้วยการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้เป็นแนวคิดตลอดกระบวนการผลิต เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมรักษ์โลกไปพร้อมกัน เช่น
ภายใต้แบรนด์ SCG GREEN POLYMERTM โดยเป็นการนำพลาสติกใช้แล้วมาผ่านกระบวนการให้กลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ High Quality PCR (High Quality Post-Consumer Recycled Resin) สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ได้ ช่วยลดปริมาณขยะและลดการใช้ทรัพยากร
นำเมลามีนที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตในโรงงาน หรือสินค้าเมลามีนที่ใช้งานแล้ว มาเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นวัตถุดิบใหม่ที่มีส่วนผสมของเมลามีนใช้แล้ว 10-40% โดยสามารถปรับตามลักษณะพื้นผิวและลวดลายชิ้นงานที่ต้องการ สร้างสรรค์เป็นสินค้าอัปไซเคิลที่มีดีไซน์สวยงาม ตอบโจทย์ และเป็นการเปิดตลาดสู่กลุ่มสินค้าใหม่ของวัสดุเมลามีน ได้แก่ กระถางต้นไม้ Plant me และ อ่างล้างมือ BASINITY เป็นการหมุนเวียนทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ปูนซีเมนต์คุณภาพสูง แข็งแรง ทนทาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานทดแทน โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) ทดแทนเชื้อเพลิงถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตปูนซีเมนต์ สามารถทดแทนถ่านหินได้ 18% ของความร้อน รวมถึงการนำลมร้อนที่ได้จากกระบวนการผลิตมาปั่นไฟฟ้า หรือ Waste Heat Generator (WHG) ลดการใช้พลังงานถึง 38% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดีต่อเรา ดีต่อโลกอีกด้วย
เพื่อออกแบบและควบคุมกระบวนการก่อสร้างด้วยการใช้เครื่องจักรสำหรับพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) ทำให้สามารถพิมพ์รูปโครงสร้าง และอาคารตามรูปแบบที่ต้องการ อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้คอนกรีตตกแต่งอื่น ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ และฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังนวัตกรรม นวัตกรรมนี้ช่วยลดระยะเวลาทำงาน และลดเศษวัสดุในพื้นที่งานก่อสร้าง
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักร ทำให้สามารถคาดการณ์ความผิดปกติได้ล่วงหน้าอย่างแม่นยำ ช่วยลดความเสี่ยง และสามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต โดยพบว่า ระบบสามารถลดพลังงาน ได้ถึง 19,430 กิกะจูลต่อปี หรือเทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 806 ตันคาร์บอนต่อปี
เมกะเทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อมและความต้องการอยู่อย่างปลอดภัย เป็น “โอกาส” ที่ทำให้เราได้ “ร่วมกันรับผิดชอบต่อโลกใบนี้” ซึ่งภาคธุรกิจก็เป็นส่วนหนึ่งที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนในสังคม ตลอดจนช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิด ESG (Environmental, Social, and Government) เพื่อส่งต่อโลกที่ดีขึ้นให้กับลูกหลานในอนาคตต่อไป
ที่มา : เอสซีจี