ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) โดยมีข้อความว่า
โควิด-19 (Covid-19) ประสบการณ์การระบาดของโรคในอดีต
หมอยง ระบุว่า อดีตที่ผ่านมา 2003 เกิดการระบาดของโรคซาส์ เริ่มจากกวางตุ้ง เข้าไประบาดใหญ่ที่ฮ่องกงประมาณต้นปี ไทยเราเตรียมพร้อม ผมอยู่ในเหตุการณ์ ทุกคนกลัว เพราะมีอัตราตายสูง (30%)
ผู้ป่วยรายแรกเข้าสู่ประเทศไทย คือคุณหมอเออร์บานี่ หมอ WHO ติดจากเวียตนาม (ขณะนั้นยังวินิจฉัยไม่ได้) รู้ว่าเป็นโรคระบาด ติดต่อมารักษาในประเทศไทย มีการเตรียมรับอย่างดี ไม่เกิดการติดต่อในประเทศไทย
แต่หลังจากนั้น โรคได้ระบาดไปมาก 20 ประเทศ
ทุกคนกลัว ผมเองก็กลัว ถึงขนาดไม่ยอมไปประชุมที่ออสเตรเลีย ที่ต้องไปเสนอผลงานวิจัย ไม่กล้าเดินทางขึ้นเครื่องบิน
โรคระบาดอยู่ 7-8 เดือน ก็สงบ โดยสามารถกวาดล้างได้หมดจนไม่มีเชื้อหลงเหลือ
ปลายปี 2003 การระบาดไข้หวัดนกเข้าสู่ประเทศไทย ไม่ยอมประกาศว่ามีไข้หวัดนก กระทั่งอาจารย์ที่ผมเคารพมาก คือท่านอาจารย์ประเสริฐ ทองเจริญ ออกมาประกาศในเดือนมกราคม 2004 ว่ามีการระบาดในประเทศไทย เพราะพบการป่วยในมนุษย์รายแรก ทั้งที่พบในสัตว์ตั้งแต่ตุลาคม 2003 ที่มีไก่ตายจำนวนมาก
ผมได้ร่วมกับทีมสัตวแพทย์จุฬา และมหิดล ได้รับตัวอย่างเสือ จากบึงฉวาก ตาย เข้าใจว่า 4 ตัว ได้รับมา 2 ตัว โดยสงสัยป่วยติดเชื้อ feline panleukopenia virus เพราะเสือพึ่งฉีดวัคซีนดังกล่าว
แต่ด้วยความเอะใจ เพราะคิดว่าเสือกินโครงไก่ที่ตายจากหวัดนก ได้ทำการถอดรหัสพันธุกรรมไข้หวัดนก H5N1 ในเสือในเดือนธันวาคม 2003 และผลการถอดรหัสเป็นไข้หวัดนก H5N1 จริง
ยืนยันกับที่อาจารย์ประเสริฐ ทองเจริญ รายงาน และต่อมาได้มีการถอดรหัสทั้งตัวของ H5N1 ในไก่ จากนครปฐมที่ตาย ตั้งชื่อสายพันธ์นี้ว่า CUK2
โดย K ย่อมาจากไก่ ตัวที่ 2 ที่ถอดรหัส ตัวแรก K1 ถอดได้ไม่เต็มตัว H5N1 และลงพิมพ์ในวารสาร “Virology” และต่อมาไข้หวัดนกสร้างความตื่นกลัวต่อประชาชนอย่างมาก
สัตว์ปีกส่งออกได้ และคนกลัวไม่รับประทานสัตว์ปีก เปิดเผยความจริงเมื่อพบในผู้ป่วยที่กาญจนบุรีแล้ว รายละเอียดมีมาก จะเล่าในตอนต่อไป