น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
โควิดจากโอมิครอน (Omicron) ไทย เสียชีวิตเพิ่มเป็น 2 ราย จากผู้ติดเชื้อสะสมเกือบ 10,000 ราย
มีความชัดเจนเกี่ยวกับไวรัสโอมิครอนว่า ความสามารถในการแพร่ระบาดนั้น รวดเร็วกว้างขวางกว่าเดลตา และการดื้อต่อวัคซีนก็มากกว่าเดลตาเช่นกัน
ส่วนคำถามที่ยังตอบได้ไม่ชัดเจน มีเพียงแนวโน้มคือ ความรุนแรงของไวรัสโอมิครอนมีมากหรือน้อยกว่าเดลตาอย่างไร
ขณะนี้ข้อมูลในส่วนนี้ เริ่มทยอยมีความชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ จากในช่วงแรกที่มีการระบาดของไวรัสที่ประเทศแอฟริกาใต้และไม่มีผู้เสียชีวิตเลย
ต่อมาเริ่มมีรายงานผู้เสียชีวิตบ้าง และเริ่มมีรายงานในประเทศตะวันตกทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกามากขึ้นเป็นลำดับ
สำหรับประเทศไทย นับจากวันที่ 6 ธันวาคม 2564 ซึ่งพบเคสแรกของโอมิครอน และทยอยพบผู้ติดเชื้อจากโอมิครอนในสัดส่วนที่มากขึ้นเป็นลำดับ
จนปัจจุบันสัดส่วนของผู้ติดเชื้อที่ตรวจหาสารพันธุกรรมพบว่าเป็นโอมิครอนมากกว่าเดลตาเรียบร้อยแล้วนั้น คือเป็นสายพันธุ์หลัก
ในช่วงแรก ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเลย จึงทำให้บางส่วนเข้าใจว่า โอมิครอนมีลักษณะความรุนแรงในระดับไข้หวัดธรรมดา
ในขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเตือนว่า จะสรุปอย่างนั้นทันทีคงจะไม่ได้
ล่าสุดอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รายงานตัวเลขที่น่าสนใจว่า
พบผู้เสียชีวิตจากโอมิครอน 2 รายแล้ว จากผู้ติดเชื้อสะสมเกือบ 10,000 ราย
โดยรายที่หนึ่ง
รายที่สอง
การระบาดของโควิดระลอกที่ 3 จากสายพันธุ์เดลต้านั้น เสียชีวิตประมาณ 1% คือ 20,000 รายจากผู้ติดเชื้อ 2,000,000 ราย
ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของโลก โควิดเสียชีวิต 2% หรือมากกว่าไทย 2 เท่า
ขณะนี้ประเทศไทยเพิ่งเริ่มระบาดระลอกที่สี่ การสรุปตัวเลขผู้เสียชีวิตในช่วงนี้ จึงยังไม่ใช่ตัวเลขที่แม่นยำ
จำเป็นจะต้องรอให้ถึงจุดสูงสุด และเลยไปประมาณหนึ่งเดือน จึงจะบอกตัวเลขเฉลี่ยจำนวนผู้เสียชีวิตได้
แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าสัดส่วนของผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อโอมิครอน จะน้อยกว่าไวรัสเดลต้าอย่างน้อย 5-10 เท่า
ซึ่งจำเป็นที่จะต้องติดตามรายละเอียดกันต่อไป