ภูมิคุ้มกันแบบไหนสู้โอมิครอนได้ ฉีดวัคซีน-ติดเชื้อโควิดอย่างไร เช็คเลย

19 ม.ค. 2565 | 20:11 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ม.ค. 2565 | 22:24 น.

ภูมิคุ้มกันแบบไหนสู้โอมิครอนได้ ฉีดวัคซีน-ติดเชื้อโควิดอย่างไร อ่านครบจบที่นี่ หมอธีระเผยติดเชื้อสายพันธุ์อื่นเอาโอมิครอนไม่อยู่

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

 

ภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน (Omicron) จะเกิดขึ้นเมื่อติดเชื้อโอมิครอนเท่านั้น

 

 

การเคยติดสายพันธุ์อื่นมาก่อนไม่พอที่จะสู้โอมิครอน

 

 

นอกจากนี้ แม้ว่าจะติดโอมิครอน ภูมิต่อสู้กับสายพันธุ์อื่นก็ไม่พอ

 

 

อีกทางที่ทำได้โดยไม่ต้องติดเชื้อโอมิครอนคือ การฉีดวัคซีน

 

 

และการฉีดวัคซีน หากสุดท้ายยังเกิดติดเชื้อโอมิครอนขึ้นมา แต่จะทำให้ภูมิที่ขึ้นเพียงพอสู้กับสายพันธุ์อื่นด้วย

 

 

ดังนั้นทางที่ควรทำคือ ฉีดวัคซีน 

 

 

เพราะนอกจากเรื่องภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดที่กล่าวมมาแล้ว ผลวิจัยอื่นๆ ที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าลดโอกาสป่วยรุนแรง ลดโอกาสเสียชีวิต 

และงานวิจัยบางชิ้นยังชี้ให้เห็นว่าลดโอกาสเกิด Long COVID ด้วย

 

 

 

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้นำเสนอ ผลการทดสอบภูมิคุ้มกันวัคซีนต่อไวรัสสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หลังฉีดวัคซีน จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

 

โดยใช้ไวรัสจริงแยกได้จากผู้ป่วย และปฏิบัติการภายในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 ด้วยวิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) ประกอบด้วย
การเจาะเลือดของผู้รับวัคซีนโควิด 19 มาแล้ว 2 สัปดาห์

 

 

ซึ่งเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันขึ้นมากพอ นำมาปั่นแยกเอาซีรั่มมาทดสอบกับไวรัสโควิดที่เพาะเลี้ยงในจานทดลองโดยจะเจือจางซีรั่มครั้งละเท่าตัวจนกว่าจะถึงระดับที่ทำลายเชื้อไวรัสลงได้ครึ่งหนึ่ง หรือ NT50 ซึ่งเป็นระดับสุดท้ายที่น่าจะป้องกันการติดเชื้อได้

 

 

การสร้างภูมิคุ้มกันโอมิครอน

 

 

โดยได้ทดสอบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่มีการใช้ในประเทศไทย 8 สูตร ได้แก่ ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ,แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ,ไฟเซอร์ 2 เข็ม 

 

 

,ซิโนแวค-ไฟเซอร์ ,แอสตร้าเซนเนก้า-ไฟเซอร์ ,ซิโนแวค 2 เข็มตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ,ซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วยไฟเซอร์ และแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มตามด้วยไฟเซอร์
 

ทั้งนี้ ผลการทดสอบพบว่า วัคซีนทุกสูตรจัดการกับเชื้อสายพันธุ์เดลตาได้ค่อนข้างดี แต่ลดลงเมื่อเจอกับสายพันธุ์โอมิครอน สอดคล้องกับข้อสันนิษฐานว่า โอมิครอนน่าจะหลบวัคซีนได้ดีกว่าเดลตา 

 

 

โดยเฉพาะการฉีดวัคซีน 2 เข็มระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนไม่สูงมากนัก แต่ยังสามารถป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ 

 

 

ส่วนการฉีดเข็มกระตุ้นหรือเข็ม 3 ค่าภูมิคุ้มกันจะสูงขึ้นอย่างมาก ช่วยลดการติดเชื้อ แพร่เชื้อ และลดเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้มากขึ้น โดยต้องศึกษาต่อไปว่าระดับภูมิคุ้มกันจะสูงต่อเนื่องได้นานเพียงใด 

 

 

นอกจากนี้ กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ที่กระตุ้นเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์อีกสูตรหนึ่ง รวมถึงกำลังเร่งศึกษากรณีการติดเชื้อโอมิครอนแล้วภูมิคุ้มกันหลังติดเชื้อจะช่วยจัดการสายพันธุ์เดลตาได้ด้วยหรือไม่