นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่า ไม่มีจังหวัดใดที่ไม่ติดเชื้อ โอมิครอน ติดกันแล้วในทุกพื้นที่ หากดูภาพรวมรายแรกที่พบโอมิครอนจนถึงปัจจุบันไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน สะสม 10,721 คน
10จังหวัดที่ตรวจพบโอมิครอนมากที่สุด ได้แก่
การติดเชื้อทางภาคอีสานทั้งร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุดรธานี เป็นผลพวงของคลัสเตอร์ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ส่วนสมุทรปราการ และเชียงใหม่ที่เริ่มมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
ส่วนภาพรวมการติดเชื้อโควิดทั้งประเทศแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศจำนวน 1,437 ตัวอย่าง พบว่า 96.9% เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ฉะนั้นคนที่มาจากต่างประเทศเชื่อได้ว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอนเกือบ 100%
"การติดตามสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ว่า จากการตรวจกลุ่มในประเทศจำนวน 2,274 ตัวอย่าง พบเป็นโอมิครอนเพิ่มขึ้นจนมีสัดส่วนโอมิครอนถึง 80.4% ที่เหลือเป็นเดลตา 19.6% และหากรวมทุกกลุ่มทั้งหมดจำนวน 3,711 ตัวอย่าง พบว่า โอมิครอนมีสัดส่วนราว 86.8% และเดลตามีสัดส่วน 13.2% เท่านั้น
สัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มที่มาจากต่างประเทศหรือชายแดนที่ถือว่าจะนำเชื้อเข้ามา ทุกรายตรวจด้วยวิธี RT-PCR ก่อนจะคัดอีก 10 คน ไปตรวจจีโนมเพื่อแยกสายพันธุ์ ส่วนกลุ่มอื่นๆ เช่น การสุ่มในภาพรวม กลุ่มที่เป็นคลัสเตอร์ใหญ่ๆ ติดเชื้อสูงเกินกว่า 50 ราย, กลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบแล้วยังป่วน, กลุ่มที่มีอาการรุนแรง, กลุ่มผู้ติดเชื้อโควิดซ้ำ และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ หรือกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีการสุ่มตรวจคัดแยกสายพันธุ์
หากวิเคราะห์เจาะลึกลงไปจะพบว่าสัปดาห์นี้ภาพรวมการติดโอไมครอนมีสัดส่วน 86% และอีก 13% เป็นเดลตา ในกลุ่มผู้ป่วยอาการรุนแรงพบโอมิครอนน้อยกว่าค่าที่ควรจะเป็น ขณะที่พบเดลตาสูงกว่าปกติ 2 เท่า ตรงนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าโอมิครอนมีความรุนแรงน้อยกว่าเดลตาค่อนข้างชัดเจน และจุดที่น่านใจคือการติดเชื้อซ้ำ 100% มาจากสายพันธุ์โอมิครอนซึ่งปกติแล้วเชื้อโควิดหากติดซ้ำจะไม่ใช่สายพันธุ์เดิม จึงทำให้ได้ข้อสรุปบางประการเกี่ยวกับสายพันธุ์ใหม่
ข้อสรุปสถานการณ์โอมิครอนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ สายพันธุ์นี้มีการแพร่กระจายค้อนข้างเร็ว โดยกลุ่มต่างประเทศเกือบ 100% เป็นโอมิครอน กลุ่มรุนแรงและเสียชีวิตพบว่าสัดส่วนเดลตายังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มทั่วไป โอมิครอนหลบวัคซีนได้ จึงคาดว่าภายในปลายเดือนม.ค. เดลตาจะหายไปในที่สุด โอมิครอนในประเทศจะสูงเทียบเท่ากับกลุ่มที่เข้ามาจากต่างประเทศ
ดังนั้นการตรวจหาสายพันธุ์อาจจะลดลง แต่การถอดรหัสทั้งตัวยังต้องทำ เพื่อดูว่าโอมิครอนจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ คนทีมาจากต่างประเทศก็ต้องสุ่มตรวจเพราะอาจมีสายพันธุ์ใหม่เข้ามา สุดท้ายเราต้องอยู่ร่วมกับโอมิครอนขอให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็ม 3 เพื่อสามารถลดการแพร่ระบาด การติดเชื้อ และลดอาการป่วยรุนแรงได้ด้วย