รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
18,363
ATK 14,605
รวม 32,968
อัตราการตรวจพบผลบวก 20.7% (เดิม 19.01%)
หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 702 คน เป็น 827 คน เพิ่มขึ้น 17.8%
ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 145 คน เป็น 214 คน เพิ่มขึ้น 47.58%
กรุงเทพฯ 2,650 (เดิม 2,761)
อัตราการตรวจพบผลบวก 43.49% (เดิม 37.17%)
นนทบุรี 792 (เดิม 852)
อัตราการตรวจพบผลบวก 29.89% (เดิม 32.4%)
อย่างไรก็ดี หมอธีระยังโพสอีกด้วยว่า
Availability ≠ Responsiveness
"เตียงมีเพียงพอ" ไม่เท่ากับ "การตอบสนองต่อปัญหาได้ทันเวลา ตรงความต้องการ และมีประสิทธิภาพ"
ตัวชี้วัดเชิงระบบที่คนบริหารนโยบายควรดู ไม่ใช่ตัวเลขว่าวันนี้มีเตียงว่างกี่เปอร์เซ็นต์แล้วโล่งใจ คุยได้ว่ามีเยอะ เพียงพอ เอาอยู่ รับมือได้
แต่สิ่งสำคัญที่ต้องดูคือ มีคนต้องการความช่วยเหลือ ยังต้องรอในภาวะวิกฤติ โดยยังไม่สามารถเข้าถึงบริการจริงได้อยู่บ้างหรือไม่
หากข่าวแต่ละวันยังมีคนตกค้างรอรับบริการมากมาย หลายต่อหลายคนวิกฤติต้องไปนอนข้างถนน นอนหน้าธนาคาร
หรืออื่นๆ จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ นั่นย่อมแปลว่ายังจำเป็นต้องพัฒนาระบบกลไกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เหนืออื่นใด นั่นย่อมแปลว่า การควบคุมป้องกันโรคนั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จำเป็นต้องนำมาพิจารณาปรับนโยบายและมาตรการไม่ว่าจะที่ใดในโลก