น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
โอมิครอน (Omicron) ของไทย รุนแรงน้อยกว่าเดลตา 5 เท่าตัว
เป็นที่ทราบกันดีทั่วโลกว่า ไวรัสโอมิครอนก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงน้อยกว่าไวรัสเดลตาหลายเท่าตัว
แต่ยังไม่มีสถิติตัวเลขที่ชัดเจน สำหรับใช้อ้างอิง เนื่องจากเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่จะต้องช่วยกันหาข้อสรุปต่อไป
ในเบื้องต้น ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ คือประมาณสองเดือนแรกของการระบาดระลอกที่สี่ของไวรัสโอมิครอนในประเทศไทย
ผู้เขียนได้รวบรวมสถิติ เพื่อประเมินความรุนแรงของไวรัสโอมิครอน โดยเปรียบเทียบกับไวรัสเดลตาใน 3 มิติด้วยกัน ได้แก่ จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนผู้ป่วยหนัก และจำนวนผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
พบว่าความรุนแรงของไวรัสโอมิครอนนั้น รุนแรงน้อยกว่าไวรัสเดลตาอยู่ 4.23-5.35 เท่า ดังนี้
1.ผู้เสียชีวิต
ระลอกที่สาม
(มีไวรัสเดลตาเป็นหลัก)
ระลอกที่สี่
(มีไวรัสโอมิครอนเป็นหลัก)
ในมิติผู้เสียชีวิต ไวรัสโอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าไวรัสเดลตาอยู่ 5.16 เท่าตัว
2.ผู้ป่วยอาการหนัก
3.ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
จึงพอเห็นแนวโน้มของความรุนแรงว่า ไวรัสโอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าเดลตาประมาณ 5 เท่า ในประเทศไทย
อย่างไรก็ตามโอมิครอนอาจไม่ได้รุนแรงน้อยกว่าถึง 5 เท่า เพียงแต่มีตัวแปรสำคัญคือ
ในขณะนี้ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมมากขึ้นทั้งเข็ม 1,2,3 ราว 121 ล้านโดส เมื่อเปรียบเทียบกับในระลอกที่สามที่มีเดลตาระบาด
ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีผู้ป่วยหนัก ผู้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจลดลง อันส่งผลทำให้ผู้เสียชีวิตลดน้อยลงด้วย
ก็เป็นข้อมูลที่จะใช้ประกอบกับการบริหารจัดการเตียงในโรงพยาบาล หรือในระบบสุขภาพว่า
มีผู้ป่วยหนัก ผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวนไม่มากนัก เมื่อคิดเป็นสัดส่วนต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ
จึงต้องมีแนวทางที่จะทำให้ผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย ไม่ขยับเข้ามาสู่โรงพยาบาลหลัก
แต่ให้อยู่ในโรงพยาบาลสนาม หรือแยกกักตัวที่บ้าน (HI) และกักตัวในชุมชน (CI) เป็นหลัก
ก็จะทำให้โรงพยาบาลหลัก สามารถรับผู้ป่วยติดเชื้อโอมิครอนที่มีอาการปานกลางถึงหนักได้อย่างเพียงพอ