เจอ เเจก จบ รักษาโควิดแบบผู้ป่วยนอก กับ Home Isolation แตกต่างกันยังไง ?

02 มี.ค. 2565 | 03:30 น.
อัปเดตล่าสุด :02 มี.ค. 2565 | 12:45 น.

“เจอ แจก จบ” ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องการให้มีการจัดการ โควิด 19 จากโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) เป็น "โรคประจำถิ่น" (Endemic) เริ่มตั้งเเต่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมา เเล้ว รู้ไหมว่า รักษาโควิดแบบผู้ป่วยนอก กับ Home Isolation แตกต่างกันยังไง ?

“เจอ แจก จบ” ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องการให้มีการจัดการ โควิด 19 จากโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) เป็น "โรคประจำถิ่น" (Endemic) คือ โรคลดความรุนแรงลง มีระบบการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และประชาชนมีภูมิต้านทานที่เพียงพอ โรคไม่ได้มีภาวะอันตราย

โดยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป กระทรวงสาธารณสุขจะเริ่มการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด "ผู้ป่วยนอก Outpatient Department (OPD)"  สำหรับผู้ติดเชื้อแบบไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น แต่มากกว่า 90% เป็นผู้ป่วยสีเขียว ในขณะที่ระบบแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation HI) ศูนย์พักคอย (CI) และหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ยังคงดำเนินการอยู่

เจอ เเจก จบ รักษาโควิดแบบผู้ป่วยนอก กับ  Home Isolation แตกต่างกันยังไง ?

การรักษาแบบผู้ป่วยนอกคืออะไร

  • ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
  • ส่วนมากเป็นการเจ็บป่วยแบบเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่รุนแรง เป็นหวัด ไอ แพ้อากาศ แพ้ ผด ผื่น คัน
  • แพทย์ก็จะจ่ายยากลับให้ไปรับประทานที่บ้าน พร้อมกับคำแนะนำว่าอาการจะดีขึ้นใน 1-2 วัน
  • ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้กลับมาตรวจซ้ำ

 

การรักษาผู้ป่วยแบบ OPD ทำยังไง

  • เริ่มจากผู้สงสัยติดเชื้อ ตรวจ ATK ด้วยตนเอง
  • เมื่อผลตรวจเป็นบวกจะถือว่าเป็นผู้ติดเชื้อเข้าข่าย
  • โทรติดต่อสายด่วน 1330 หรือเข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่โรงพยาบาล เพื่อประเมินอาการและปัจจัยเสี่ยง
  •  หากอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัจจัยเสี่ยง จะสามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (Outpatient with Self Isolation) ได้  ปัจจัยเสี่ยงจะเข้าระบบ HI/CI หรือ Hospitel

 

ความแตกต่างรักษาแบบผู้ป่วยนอกร่วมกับการแยกกักตนเองที่บ้าน (OP with Self Isolation) และ Home Isolation (HI)

การโทรติดตามอาการ

  • แบบ OPD โทรเพียงครั้งเดียวที่ 48 ชั่วโมง
  • HI จะมีการโทรติดตามอาการทุกวัน

 

อุปกรณ์ตรวจประเมิน 

  • แบบ OPD ไม่มีให้
  • เเบบ HI จะได้รับอุปกรณ์เพื่อติดตามอาการประจำวัน

 

บริการอื่นๆ

  • แบบ OPD ไม่มีบริการอาหาร 3 มื้อ
  • แบบ HI จะมีบริการให้

 

การแยกกักตัวที่บ้าน

  • ทั้ง OPD และ HI จะต้องแยกกักตนเองจนครบตามกำหนด

 

การจ่ายยาตามอาการ

เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ เพราะส่วนมากหายได้เอง แต่อาจได้รับยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์

 

ระบบส่งต่อเมื่อมีอาการแย่ลง

หากมีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยสามารถติดต่อกลับมายังโรงพยาบาล และจะได้รับการส่งต่ออย่างทันท่วงที

ความแตกต่างรักษาแบบผู้ป่วยนอกร่วมกับการแยกกักตนเองที่บ้าน (OP with Self Isolation) และ Home Isolation (HI)

อ้างอิง : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ